วิธีทำบุญยุคโควิด

วิธีทำบุญยุคโควิด อย่างไรให้ห่างไกลไวรัส ได้อานิสงส์แรง

ที่ไม่มีใครอยู่ข้างๆ เพราะเค้าให้ห่างกัน 2 เมตร…จะเรียกว่าเหงาก็ได้แหละ แต่ทำไงได้กลัวติดเชื้อโควิดมากกว่า ซึ่งดู ๆ แล้วเหตุการณ์โควิด 19 ระลอกใหม่นี้เป็นสิ่งที่ควรจับตามองอย่างมาก ด้วยการกลับมาของจำนวนผู้ติดเชื้อที่สูงขึ้นเรื่อย ๆ และกระจายไปตามหลายพื้นที่ทั่วประเทศไทย ประจวบเหมาะกับการมาระบาดในช่วงเทศกาลวันหยุดยาวปีใหม่ ทำเอาดับฝันแพลนเที่ยวไปดื้อ ๆ และต่อให้ไปทําบุญปีใหม่ 2564 เหมือนแต่ก่อนคงไม่ได้ ทางเรา Ruay จึงมี วิธีทำบุญยุคโควิด แบบ New Normal มานำเสนอ จะเป็นอย่างไร ไปดู How to กันได้เลย

วิธีทำบุญยุคโควิด อย่างไรให้ปลอดภัย

ชาวกรุงเทพฯ หลายคนพอจะทราบข่าวงดกิจกรรมโควิดแล้วว่า ปีใหม่ 2564 นี้ผู้ว่าฯ กทม. สั่ง “งดเคาท์ดาวน์” และ “งดสวดมนต์ข้ามปี” ทุกพื้นที่ในกรุงเทพฯ เพื่อสกัดการแพร่ระบาดโควิด-19 ระลอกใหม่ แต่หลายคนยังไม่ทราบว่ายังสามารถเดินทางไป ทำบุญหรือตักบาตรได้อยู่ แต่จะกำหนดให้มีผู้ร่วมงานจำนวนไม่มากนัก เพื่อรักษาระยะห่างระหว่างบุคคล 

ฉะนั้นแล้วก่อนที่เราจะเดินทางไปทำบุญปีใหม่ เสริมสิริมงคลให้แก่ชีวิตที่ไหนก็ตาม เราทุกคนจำเป็นต้องรู้วิธีปฏิบัติตัวเมื่อไปทำบุญให้ปลอดภัยอย่างไม่ประมาท กับคู่มืออุ่นใจ ไปทำบุญอย่างไรให้ปลอด COVID-19 ที่ทางเรา Ruay รวบรวมข้อมูลมาให้ ดังนี้

วิธีทำบุญยุคโควิด (กรณีเมื่อต้องเดินทางออกไปทำบุญ)

ไหว้พระ

ก่อนเดินทางออกไปทำบุญ

จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพกอุปกรณ์ป้องกันโควิด เหล่านี้ติดตัวไว้ในทุก ๆ ครั้ง ได้แก่

  • หน้ากากอนามัย เพื่อความอุ่นใจควรพกสำรองเผื่อไว้อีก 1 ชิ้น โดยทางกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้ชี้แจงในเรื่องนี้ว่าหน้ากากอนามัยสามารถป้องกันไวรัสโควิด-19 ได้ จากการสัมผัสละอองฝอยของน้ำมูกน้ำลาย ซึ่งอาจมีเชื้อ และเพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยที่สวมใส่แพร่เชื้อออกไปได้จริง
  • เจลล้างมือแอลกอฮอล์ แบบพกพาควรเลือกใช้ความเข้มข้น 70%-75% ถือว่าเป็นปริมาณที่กำลังพอดี เนื้อเจลไม่ระเหยเร็วเกินไป สามารถออกฤทธิ์ฆ่าเชื้อโรคได้อย่างเต็มที่
  • ทิชชู่เปียก เผื่อใช้ในกรณีไม่สามารถเข้าไปล้างมือในห้องน้ำได้ 
  • ทิชชู่แห้ง สำหรับจับลูกบิดหรือประตูต่าง ๆ 
  • สบู่เหลวล้างมือ ขนาดพกพา ช่วยให้ล้างมือได้สะอาดปราศจากเชื้อโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ
หน้ากากอนามัยควร เลือกแบบไหน?

ควรเลือกหน้ากากอนามัยทางการแพทย์ ที่มีเยื่อกระดาษ 3 ชั้น จะช่วยทำให้ป้องกันเชื้อโรคได้ ซึ่งผ่านการรับรองทางแพทย์มาแล้ว

วิธีเลือกแอลกอฮอล์ล้างมือ

เลือกที่มีเปอร์เซ็นต์สูงกว่า 98% ขึ้นไปหรือที่เป็นแบบ 100% ได้ยิ่งดี ไม่ควรใช้เจลแบบที่เหนียวมือหรือไม่ซึมง่าย เพราะแบบนั้นจะเกรดไม่ค่อยดี ของดีควรซึมไว

ทิชชู่เปียกกับแห้งต่างกันยังไง?

ทิชชู่เปียกสามารถใช้เช็ดกับผิวหนังบอบบางได้ เช่นผิวของเด็ก หรือใช้เช็ดมือได้เช่นกัน แต่ทิชชูแห้งนั้นเอาไว้เพื่อซับหรือเช็ดความสะอาดของที่เปียก ใช้เช็ดมือฆ่าเชื้อโรคไม่ได้

ตักบาตรโควิด

เมื่อไปถึงสถานที่ทำบุญ

แนวทางปฏิบัติศาสนสถาน คือ คัดกรอง ตรวจวัดอุณหภูมิและลงชื่อผู้เข้าร่วมพิธี กำหนดจำนวนผู้เข้าร่วม ขอความร่วมมือทุกคนจัดอุปกรณ์ป้องกันตนเอง และเตรียมเจลแอลกอฮอล์ล้างมือ โดยทางศาสนสถานจะจัดที่นั่งเว้นระยะห่างไว้ให้ โดยที่ผู้เข้าร่วมพิธี ต้องลงชื่อเข้าร่วม สวมหน้ากากตลอดเวลา และอาบน้ำ เปลี่ยนเสื้อผ้าทันทีที่กลับถึงที่บ้านหรือที่พัก

และเนื่องจากสถานที่ทำบุญจะมีบางจุดที่มีการใช้ร่วมกัน อาจมีการสัมผัสในจุดเดียวกัน จุดที่ควรจับตามองและระวังเป็นพิเศษ มีดังนี้

  • จุดรับบริจาค ควรรักษาระยะห่างในการยืนต่อแถวจากคนข้างหน้า 1 เมตร เพื่อส่งเงินบริจาคให้เจ้าหน้าที่ในกรณีที่ต้องการรับใบเสร็จรับเงิน 
  • โลงศพสำหรับบริจาค การทำบุญหรือบริจาคโลงศพ ที่มีการติดใบอุทิศส่วนกุศลในช่วงนี้ หลังติดแล้วควรล้างมือด้วยอุปกรณ์ที่เตรียมไว้ทันที หรือหากเลี่ยงการติดใบอุทิศส่วนกุศลก็ได้ โดยเปลี่ยนไปใช้เป็นการอธิษฐานจิตก็สามารถส่งผลบุญกุศลได้เช่นกัน
  • กล่องรับบริจาคต่าง ๆ ในวัด ควรหยอดเงินลงกล่องโดยตรง หลีกเลี่ยงการสัมผัสตู้ กรณีที่หยอดธนบัตร เพื่อป้องกันธนบัตรติดที่ช่องหยอดเงินควรรีดให้เรียบแบนก่อนหยอด
  • การปิดทอง สำหรับการทำบุญด้วยการปิดทองถ้าเลี่ยงได้ควรเลี่ยงไปก่อน แล้วทำบุญด้วยวิธีอื่นก็ได้กุศลเช่นเดียวกัน
  • ถวายสังฆทาน เนื่องจากในหลาย ๆ วัดตอนนี้ทางวัดเตรียมชุดสังฆทานไว้เพื่อความสะดวกให้กับผู้มาทำบุญ ดังนั้นจึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่อาจมีการสัมผัสสิ่งของร่วมกันหลังจับชุดสังฆทาน จึงควรทำความสะอาดมือให้เรียบร้อย
  • หนังสือสวดมนต์ ในช่วงนี้ควรใช้ของส่วนตัวหรือดูจากมือถือส่วนตัว หลีกเลี่ยงการยืม หรือใช้หนังสือสวดมนต์ในวัด
  • กระบอกเซียมซีและใบเซียมซี การเขย่าเซียมซีเป็นจุดที่คนสัมผัสกันมากที่สุด ควรเช็ดทำความสะอาดมือให้เรียบร้อยทุกครั้งหลังสัมผัส และอย่าเผลอเอามือสัมผัสบริเวณหน้าเด็ดขาด
  • จุดหยอดเหรียญตามพระวันเกิด ตามปกติแล้วทางวัดจะเตรียมเหรียญใส่ภาชนะไว้ให้แลกเพื่อนำใส่บาตรพระตามวันเกิด หลังจากหยอดแล้วควรทำความสะอาดมือก่อนแล้วจึงประนมมืออธิษฐานทีหลัง หรือใครที่เก็บเหรียญไว้ที่บ้านอยู่แล้วนำมาหยอดเองก็เป็นทางเลือกที่ดี 
  • ในกรณีที่ไปปฏิบัติธรรม กิจกรรมระหว่างการปฏิบัติธรรมไม่ว่าจะเป็นการเดินจงกลม การนั่งสมาธิ ให้รักษาระยะห่างกับผู้ปฏิบัติธรรมคนอื่น ๆ อย่างน้อย 1 เมตร และหลีกเลี่ยงการใช้สิ่งของร่วมกันกับผู้อื่น

วิธีทำบุญยุคโควิด (กรณีทำบุญอยู่บ้าน)

ไหว้พระ

เคล็ดลับนี้ถือเป็นการทำบุญ​ปลอดภัย​จากโควิดมากที่สุด และยังเป็นการทำบุญให้ได้อานิสงส์แรง แบบไม่ต้องเสี่ยงโควิด-19 อีกด้วย โดยแบ่งเป็น 4 วิธีทำบุญอยู่บ้านง่าย ๆ ดังนี้

การสวดคาถาอิติปิโส 8 ทิศ เสริมดวงตามวันเกิด

การสวดคาถาอิติปิโส 8 ทิศ นั้นเป็นการเสริมดวงชะตาโดยตรงของคนแต่ละวันเกิด ก่อนจะสวดคาถาต้องตั้งนะโม 3 จบ ก่อน จากนั้นให้ท่องตามนี้

  • คนเกิดวันอาทิตย์ “อะ  วิช  สุ  นุต  สา  นุส  ติ” ตอนสวดให้หันหน้าทางทิศอีสาน (ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ) 6 จบ ควรสวดภาวนาทุกวันหรือถ้าไม่สะดวกให้สวดเฉพาะวันอาทิตย์ก็ได้
  • คนเกิดวันจันทร์ “อิ ระ ชา คะ ตะ ระ สา” ตอนสวดให้หันหน้าทางทิศบูรพา (ทิศตะวันออก) 15 จบ ควรสวดภาวนาทุกวันหรือถ้าไม่สะดวกให้สวดเฉพาะวันจันทร์ก็ได้
  • คนเกิดวันอังคาร “ติ หัง จะ โต โร ถิ นัง” ตอนสวดให้หันหน้าทางทิศอาคเนย์ (ทิศตะวันออกเฉียงใต้) 8 จบ ควรสวดภาวนาทุกวันหรือถ้าไม่สะดวกให้สวดเฉพาะวันอังคารก็ได้
  • คนเกิดวันพุธ (กลางวัน) “ปิ สัม ระ โล ปุ สัต พุท” ตอนสวดให้หันหน้าทางทิศทักษิณ (ทิศใต้) 17 จบ ควรสวดภาวนาทุกวันหรือถ้าไม่สะดวกให้สวดเฉพาะวันพุธก็ได้
  • คนเกิดวันพุธ (กลางคืน) “คะ พุท ปัน ทู ทัม วะ คะ” ตอนสวดให้หันหน้าทางทิศพายัพ (ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ) 12 จบ ควรสวดภาวนาทุกวันหรือถ้าไม่สะดวกให้สวดเฉพาะวันพุธก็ได้
  • คนเกิดวันพฤหัสบดี “ภะ สัม สัม วิ สะ เท ภะ” ตอนสวดให้หันหน้าทางทิศประจิม (ทิศตะวันตก) 19 จบ ควรสวดภาวนาทุกวันหรือถ้าไม่สะดวกให้สวดเฉพาะวันพฤหัสบดีก็ได้
  • คนเกิดวันศุกร์ “วา โธ โน อะ มะ มะ วา” ตอนสวดให้หันหน้าทางทิศอุดร (ทิศเหนือ) 21 จบ ควรสวดภาวนาทุกวันหรือถ้าไม่สะดวกให้สวดเฉพาะวันศุกร์ก็ได้
  • คนเกิดวันเสาร์ “โส มา ณะ กะ ริ ถา โธ” ตอนสวดให้หันหน้าทางทิศหรดี (ทิศตะวันตกเฉียงใต้) 10 จบ ควรสวดภาวนาทุกวันหรือถ้าไม่สะดวกให้สวดเฉพาะวันเสาร์ก็ได้

การไหว้พระที่บ้าน

การไหว้พระที่บ้านเป็นสิ่งที่ดีเพราะท่านจะได้คุ้มครองคนในบ้านให้อยู่เย็นเป็นสุข และควรทำความสะอาดหิ้งพระหรือเจ้าที่ให้สะอาด แต่การทำความสะอาดสิ่งศักดิ์สิทธิ์จะต้องมีการขยับหรือเคลื่อนสิ่งศักดิ์สิทธิ์ออกจากตำแหน่งเดิม ตามหลักต้องดูฤกษ์ในการทำความสะอาดเท่านั้น ห้ามทำโดยไม่ดูฤกษ์เด็ดขาด 

บริจาคของที่ไม่ใช้แล้ว

ในช่วงที่อยู่บ้านคุณอาจมีเวลาในการคัดแยกของที่ไม่ได้ใช้แล้ว ซึ่งก่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้อื่น เช่น การบริจาคเสื้อผ้า หนังสือเก่า หรือตามสถานที่รับบริจาคต่าง ๆ ซึ่งการบริจาคเสื้อผ้าอานิสงส์จะส่งผลให้ทำอะไรก็ราบรื่นสะดวก การบริจาคหนังสือ หมายถึง ให้มีสติปัญญาดี การงานราบรื่น 

ทำบุญออนไลน์

ทำบุญออนไลน์

ปัจจุบันการทำบุญออนไลน์ ผ่านทางหน้าจอสมาร์ทโฟน คอมพิวเตอร์ หรือผ่านสื่อช่องทางต่าง ๆ เป็นทางเลือกหนึ่งที่หลายคนนิยมใช้ เนื่องด้วยความสะดวกสบายและความรวดเร็ว ปลอดภัยห่างไกลโรคระบาด และสามารถทำได้ทุกที่ ทุกเวลา อีกทั้งยังเลือกได้ว่าอยากทำบุญกับใครบ้างอีกด้วย

สรุป

วิธีทำบุญยุคโควิด เป็นวิธีที่ดีมาก เราอาจจะเคยชินกันไปเองว่า การทำบุญต้องไปที่วัดเท่านั้น แต่ด้วยวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป และสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิดในยุคนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ควรจะหลีกเลี่ยงการไปในที่มีคนแออัดเป็นจำนวนมาก แต่หากใครที่มีความจำเป็นต้องเดินทางไปทำบุญตามวัด หรือศาสนสถานต่าง ๆ ก็จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพกอุปกรณ์ป้องกันโควิด และล้างมือบ่อย ๆ รวมถึงเว้นระยะห่าง เพื่อป้องกันไว้จะดีที่สุด

และไม่ต้องห่วงว่าโควิดแบบนี้ ไม่ได้เดินทางไปทำบุญด้วยตนเองที่วัดแล้วจะไม่ได้บุญ เพราะไม่ว่าคุณจะทำบุญที่วัด ทำบุญที่ใดก็แล้วแต่ หรือโอนเงินทำบุญ หากแต่คุณมีจิตใจที่บริสุทธิ์ อยากให้โดยไม่มีเงื่อนไขใด ๆ และเงินที่ทำบุญนั้นเป็นเงินที่ได้มาอย่างสุจริต ก็ล้วนแล้วแต่เกิดบุญทั้งนั้น

สุดท้ายนี้ทาง Ruay ขอย้ำอีกครั้งว่า ในภาวะโควิดนี้ยังสามารถเดินทางไป ทำบุญหรือตักบาตรได้อยู่ แต่จะกำหนดให้มีผู้ร่วมงานจำนวนไม่มากนัก เพื่อรักษาระยะห่างระหว่างบุคคล ยังไงแล้วก็ต้องดูแลรักสุขภาพของตัวเองให้ดี รู้จักป้องกันตัวเอง และคอยสังเกตอาการ แล้วเราจะผ่านมันไปด้วย เพื่อรอวันที่จะได้กลับมาทำบุญได้อย่างปกติสุขให้เร็ววัน

ขอบคุณภาพบางส่วนจาก thainews.prd

บทความแนะนำอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

Facebook
Twitter
Email