เสด็จเตี่ย กรมหลวงชุมพรฯ

7 ความลับ เสด็จเตี่ย กรมหลวงชุมพรฯ ที่ไม่เคยมีใครล่วงรู้มาก่อน

น่าแปลกมากที่มีผู้คนมากมายนับถือ เสด็จเตี่ย กรมหลวงชุมพรฯ ไม่ใช่ในฐานะ “เจ้า” แต่ในฐานะสิ่งศักดิ์สิทธิ์… ซึ่ง “ม.ร.ว. อภิเดช อาภากร” ผู้มีศักดิ์เป็นหลานของ “พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์” ก็ได้กล่าวไว้ เมื่อครั้งที่ท่านรวบรวมข้อมูลเขียนหนังสือพระประวัติเกี่ยวกับปู่ของท่านเช่นกัน

ทราบไหมว่า “กรมหลวงชุมพรฯ” หรือ “เสด็จเตี่ย” ที่เราเรียกกัน ท่านมีเรื่องราวมากมาย ที่น่าสนใจเกี่ยวกับชีวิตของท่าน! ทั้งเรื่องราวปาฏิหาริย์ อาถรรพ์ โศกนาฏกรรมความรัก ฯลฯ วันนี้ ruay 365 จึงจะพาไปเจาะ ความลับ 7 อย่าง เกี่ยวกับชีวิตของเสด็จเตี่ย ตามไปดูกันเลย!

เสด็จเตี่ย กรมหลวงชุมพรฯ
เสด็จเตี่ย “องค์บิดาของทหารเรือไทย” ขอบคุณภาพจาก www.appgeji.com

1. เสด็จเตี่ย ถูกลิขิตให้เป็น “องค์บิดาของทหารเรือไทย”

สำหรับข้อแรก ใครหลายคนอาจไม่ทราบว่า “นายพลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์” ที่ทุกคนเรียกว่า “เสด็จเตี่ย” หรือ “กรมหลวงชุมพรฯ” ประสูติเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2423 (ตรงกับวันอาทิตย์ แรม 3 ค่ำ เดือนอ้าย ปีมะโรง) ท่านมีพระนามเดิมว่า “พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์” เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 31 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาโหมด สายสกุลบุนนาค…

ชีวิตของท่านถูกลิขิตให้เป็นผู้นำทหารเรือของไทย… เสด็จเตี่ยเป็นพระราชโอรสรุ่นแรก ที่เสด็จไปทรงศึกษาวิทยาการสมัยใหม่ในทวีปยุโรป! ทรงเลือกศึกษา “วิชาการทหารเรือ” ที่ประเทศอังกฤษ ซึ่งมีกองทัพเรือที่เก่งฉกาจที่สุดในสมัยนั้น เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้ว ท่านก็ได้ฝึกเป็นนักเรียนทำการนายเรือ (Midshipman) ในเรือรบอังกฤษ และเสด็จกลับประเทศไทยเมื่ออายุเพียง 20 พรรษา!

หลังจากนั้น กรมหลวงชุมพรฯ ก็ทรงแน่วแน่ที่จะพัฒนากองทัพเรือไทย! โปรดให้ปรับปรุงกองทัพเรือใหม่ในทุก ๆ ด้าน ทั้งด้านหลักสูตรการเรียนสำหรับทหารเรือ ด้านการนำวิทยาการสมัยใหม่เข้ามาปรับใช้ และยังมีการให้เงินเดือนสำหรับนักเรียนที่มาสมัครกองทัพเรืออีกด้วย จนได้รับการเชิดชูในหมู่ทหารเรือให้กลายเป็น “พระบิดาแห่งกองทัพเรือไทย” ในปี 2536 และในปี 2544 ก็ได้แก้ไขเป็น “องค์บิดาของทหารเรือไทย” ดังที่เราทราบกันนั่นเอง!

2. เสด็จเตี่ยเป็นผู้ที่มีอุปนิสัยแตกต่าง และไม่ถือพระองค์

เสด็จเตี่ย กรมหลวงชุมพรฯ
เสด็จเตี่ยเป็นผู้ที่มีอุปนิสัยแตกต่าง ขอบคุณภาพจาก www.silpa-mag.com

ทราบไหมว่า ด้วยอุปนิสัยที่เปลี่ยมด้วยเมตตาของพระองค์ ทำให้มีผู้เข้ามาสมัครกองทัพเรือจำนานมาก! ท่านมีวิธีการผูกใจนักเรียนให้ตั้งใจเรียน ให้รักและภาคภูมิใจในสถาบันที่เรียน โดยใช้ความจริงใจและจริงจังในการถ่ายทอดวิชา และปลูกฝังความรู้สึกรัก และภาคภูมิใจในกองทัพเรือด้วย

เสด็จเตี่ยทรงสร้างความเชื่อมั่นให้เหล่าลูกศิษย์ ให้รู้สึกว่าพระองค์ทรงเป็นที่พึ่งได้! ทราบไหมว่า พระองค์เก่งฉกาจในวิชาการต่อสู้ป้องกันตัวทุกรูปแบบด้วย เพราะพระองค์เคยเป็นศิษย์ “หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า” ได้เรียนคาถา อยู่ยงคงกระพัน และสามารถหายตัวได้ ทำให้พระองค์ทรงมีทั้งพระบารมี และคาถาอาคม จึงชนะใจเหล่านักเรียนที่เป็นนักเลงได้!

นอกจากนั้น อุปนิสัยสำคัญที่ทุกคนรักก็คือ เสด็จเตี่ยเป็นผู้ที่ไม่ถือพระองค์! ทรงรักและเอาใจใส่ชีวิตความเป็นอยู่ของลูกศิษย์และผู้ใต้บังคับบัญชา ทั้งในเวลาและนอกเวลางาน และมีเรื่องเล่าว่า พระองค์ได้ทรงช่วยทหารเรือผู้หนึ่งให้รอดจากการถูกคู่วิวาทฟัน ด้วยการเอาพระองค์เข้ารับคมดาบแทน และยังเคยโปรดเสด็จไปสู่ขอผู้หญิงให้ลูกศิษย์ด้วย! ด้วยความรักที่ลูกศิษย์มีให้ท่าน จึงถือว่าท่านเป็น “พระอาจารย์” ไม่ใช่ “เจ้า”

3. ชาวไทยเรียกพระองค์ว่า “เสด็จเตี่ย” เพราะนับถือท่านเหมือนพ่อ

เสด็จเตี่ย กรมหลวงชุมพรฯ
“เสด็จเตี่ย” เพราะนับถือท่านเหมือนพ่อ ขอบคุณภาพจาก www.silpa-mag.com

ข้อที่ 3 นี้ ชาว ruay 365 หลายคน สงสัยว่าทำไมถึงเรียก “กรมหลวงชุมพรฯ” กันว่า “เสด็จเตี่ย” แต่ทราบไหมว่า… เป็นเพราะพระองค์ชอบเรียกขานพระองค์เองว่า “พ่อ” หรือ “เตี่ย” กับผู้ที่เข้าถวายความภักดี ทำให้มีสามัญชนรู้สึกว่าสามารถถวายตน เป็นลูกของพระองค์ได้อย่างเท่าเทียม จึงมีคนนิยมนับถือและบูชาท่านยิ่งกว้างขวางและยิ่งใหญ่ทวีคูณขึ้น!

นอกจากนั้น เสด็จเตี่ยยังต้องรับบทบาทเป็น “หมอพร”อีกด้วย! ซึ่งท่านได้นำการศึกษาวิชาแพทย์ของไทยและฝรั่ง มาผสมผสานในการรักษาผู้ป่วยทั่วไป โดยไม่คิดเงิน ไม่เลือกชนชั้นวรรณะ ทำให้ผู้คนได้สัมผัสพระองค์ และนึกไปถึงเทพเจ้าที่ลงมาโปรดมนุษย์ จึงพร้อมใจกันขานนามพระองค์ว่า “หมอพรเทวดา” อีกด้วย!

แม้กรมหลวงชุมพรฯ จะสิ้นพระชนม์ไปแล้วเมื่อ วันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2466 เวลา 11 นาฬิกา 40 นาที (สิริพระชันษา 42 ปี 151 วัน) ด้วยโรคไข้หวัดใหญ่… แต่ด้วยความรักและอาลัยของผู้ที่เทิดทูนบูชาพระองค์ จึงได้มีการจัดสร้างศาลและพระอนุสาวรีย์ของท่าน รวมทั้งสิ้น 217 แห่งทั่วประเทศไทย และยังกำหนดวันที่ 19 พฤษภาคมของทุกปีเป็น “วันอาภากร” หรือวันคล้ายวันสิ้นพระชนม์ของพระองค์อีกด้วย!

4. เคยเกิดโศกนาฏกรรมความรักขึ้นระหว่าง เสด็จเตี่ย และพระชายา

มาถึงข้อที่ 4 ข้อนี้เป็นเรื่องน่าเศร้าโศกมาก! จนแอดมินคิดว่าจะนำมาเล่าดีไหม แต่ก็เล่าเลยดีกว่า… เรื่องมีอยู่ว่า ครั้งหนึ่ง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ผู้เป็นพระบิดาของเสด็จเตี่ย ได้ทรงไปสู่ขอ “สมเด็จวังบูรพา” หรือพระนามเต็มว่า “หม่อมเจ้าหญิงทิพยสัมพันธ์ ภาณุพันธุ์ พระธิดาองค์โตในสมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้า ภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุ์วงศ์วรเดช” ให้มาเป็นพระชายาของเสด็จเตี่ย!

เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2443 จึงได้มีการจัดงานมงคลสมรสขึ้น! สร้างความปลื้มปิติยินดีไปทั่ววังหลวง พระเจ้าอยู่หัวเองก็ทรงพอราชหฤทัย เป็นอย่างยิ่ง และหลังจากนั้นพระองค์ทั้งสองก็ครองรักกันเรื่อยมา จนมีพยานรักร่วมกันเป็นพระโอรส 3 พระองค์ 

เสด็จเตี่ย กรมหลวงชุมพรฯ
โศกนาฏกรรมความรัก เสด็จเตี่ย ขอบคุณภาพจาก www.tnews.co.th

แต่แล้วด้วยความสุขสมหวัง ก็อาจเกิดเหตุโศกนาฏกรรมขึ้นได้… ด้วยความที่เสด็จเตี่ยเอาแต่สนพระทัยในหน้าที่ราชการ ทำให้มีเวลาอยู่ร่วมกับพระชายาน้อยลง และยังมีปัญหาเรื่อง “หม่อมเล็ก หม่อมน้อย” เข้ามาอยู่ในวังด้วย ทำให้เกิดปัญหาในการครองรักของทั้งสอง 

และท้ายที่สุด เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2451 “สมเด็จวังบูรพา” หรือ “หญิงทิพย์” ได้ตัดสินพระทัยปลงพระชนม์ชีพพระองค์เอง ด้วยการเสวยพระสุธาพิษ! และได้สิ้นชีพิตักษัยเวลา 10.50 นาฬิกา ด้วยพระชนม์ 23 ปี! เป็นเหตุที่น่าเศร้าและสะเทือนใจคนไทยอย่างมาก แอดมินเองก็ไม่ขอออกความเห็นใดๆ…

5. เสด็จเตี่ยและพระราชสกุล “อาภากร” มีอาถรรพ์เชื่อมโยงกับเลข 19

ไม่แน่ใจว่าทุกคนเคยสังเกตกันไหม… แต่ว่าเสด็จเตี่ยนั้น มีอาถรรพ์ที่เกี่ยวข้องกับเลข 19 อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้! 

โดยเริ่มจากเสด็จเตี่ยประสูติ เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2423 และสิ้นพระชนม์ในวันที่ 19 พฤษภาคม นอกจากนั้นตลอดถึงต้นราชสกุล “อาภากร” หลายท่าน ก็เกี่ยวเนื่องกับเลข 19 ด้วย เช่น “พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา” ก็สิ้นพระชนม์วันที่ 19 พฤษภาคม รวมทั้ง “ม.จ.สมรบำเทอง” ก็ประสูติและสิ้นพระชนม์ในวันดียวกัน ซึ่งก็ตรงกับ วันที่ 19 พฤษภาคม และทั้งสองทรงเป็นพระโอรสในพระองค์ด้วย!

ยิ่งไปกว่านั้น! “หม่อมกอบแก้ว อาภากร” พระชายาของพระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา และ “พระยาสุรินทราชา” บิดาของหม่อมกอบแก้วเอง ก็ถึงแก่อสัญกรรมในวันเดียวกัน คือ วันที่ 19 พฤษภาคม สรุปแล้วสิ้นพระชนม์พร้อมกันถึง 5 พระองค์ในวันเดียวกัน! ฟังไปฟังมาก็แอบหลอน ๆ เหมือนกันเนอะ ขนลุก…

เสด็จเตี่ย กรมหลวงชุมพรฯ
เสด็จเตี่ยและพระราชสกุล “อาภากร” ขอบคุณภาพจาก www.tnews.co.th

6. คนไทยเชื่อว่าเสด็จเตี่ย ยังคงอยู่คุ้มครองลูกหลานเสมอ 

ข้อเท็จจริง ข้อที่ 6 ก็คือ ชาวไทยเชื่อกันว่า พระวิญญาณของเสด็จเตี่ยยังคงอยู่คอยปกป้องคุ้มครองจากภยันตราย! ท่านจะคอยรับฟังทุกข์ร้อนของบรรดาลูก ๆ หลาน ๆ คอยช่วยเหลืออำนวยให้ได้รับผลสำเร็จในสิ่งปรารถนา เหมือนครั้งที่ท่านยังทรงดำรงพระชนม์ชีพ 

ดังนั้นจึงเกิดการบนบานเสด็จเตี่ย กรมหลวงชุมพร ขึ้นเพื่อขอให้พระองค์ทรงช่วย โดยเชื่อกันว่า ถ้าหากขอพรจากท่านจะได้รับผลตามความต้องการ สมปรารถนาตามที่ขอ และยังมีเครื่องรางพระองค์ในรูปปั้นเคารพ และเหรียญศักดิ์สิทธิ์อีกด้วย! ซึ่งสามารถท่องคาถาบูชาท่านได้ดังนี้…

คำบูชากรมหลวงชุมพรฯ
“โอม ชุมพร จุติ อิทธิกะระณัง สุโข นะโม พุทธายะ
นะมะพะธะ จะภะกะสะ มะอะอุ พุธะสังมิ”

วิธีบูชาเสด็จเตี่ยก็คือ สักการะ ธูป 9 ดอก (หรือ 19 ดอก), เทียน 1 คู่ ดอกกุหลาบแดง(จำนวนเดียวกับธูป) หรือจะใช้พวงมาลัยดอกมะลิ ประทัด หรือยิงปืนถวายด้วยกระสุนจริงสมอเรือ พังงาเรือ แต่ห้ามถวายพวงมาลัยบนเศียรท่านเด็ดขาด!

7. เสด็จเตี่ยมีเหรียญศักดิ์สิทธิ์ที่เป็นที่นิยมบูชาทั่วประเทศไทย

ข้อสุดท้ายนี้ ไม่พูดถึงก็คงไม่ได้! นักเลงพระคงทราบกันดีว่า เหรียญเสด็จเตี่ย ได้รับความนิยมอย่างมาก ในวงการเครื่องรางศักดิ์สิทธิ์ของไทย! ruay 365 รวบรวมมาให้แล้ว มีเหรียญเสด็จเตี่ยรุ่นยอดนิยม อยู่ด้วยกัน 5 รุ่น ได้แก่…

  • เหรียญที่ระลึกงานพระเมรุ ปี พ.ศ.2466 เป็นเหรียญเสด็จเตี่ยที่ได้รับความนิยม อันดับหนึ่งตลอดกาล! เป็นเหรียญต้นแบบ ของเหรียญเสด็จเตี่ยรุ่นต่อมา เหรียญรุ่นนี้มีด้วยกัน 3 ชนิดคือ ทองคำ,เงิน และ ทองแดง มีหลายพิมพ์ ด้วยกัน จึงคาดการว่า ผลิตออกมาจำนวน หลายพันเหรียญ ปัจจุบันราคามากกว่าครึ่งล้าน!
เสด็จเตี่ย กรมหลวงชุมพรฯ
เหรียญที่ระลึกงานพระเมรุ ปี พ.ศ.2466 ขอบคุณภาพจาก www.facebook.com
  • เหรียญ ฉก.นย.181 (ลป.ทิม วัดละหารไร่) ปี 2518 เป็นเหรียญจัดสร้างโดยกองพันทหารราบที่ 3 กรมนาวิกโยธิน! เพื่อแจกจ่ายเป็นที่ระลึก ในคราวเสร็จสิ้นภาระกิจ ของหน่วยเฉพาะกิจนาวิกโยธิน code name ว่า “ฉก.นย.181” มีจำนวนการจัดสร้างทั้งสิ้น 23,599 เหรียญ ราคาค่านิยมในปัจจุบัน เหรียญกะไหล่ทอง 1-2 แสนบาท!
เสด็จเตี่ย กรมหลวงชุมพรฯ
เหรียญ ฉก.นย.181 (ลป.ทิม วัดละหารไร่) ปี 2518 ขอบคุณภาพจาก www.facebook.com
  • เหรียญรุ่นแรกศาลปากน้ำประแสร์ จ.ระยอง ปี 2512 จัดสร้างเป็นที่ระลึกในคราวเททองหล่อพระรูป เสด็จเตี่ยกรมหลวงชุมพรฯศาลปากน้ำประแสร์ในปี 2512! ยอดเกจิดังเข้าร่วมพิธีพุทธาภิเษกมากมาย ลักษณะเหรียญเป็นทรงรูปอาร์ม ด้านหน้าเป็นพระรูปเสด็จเตี่ยครึ่งพระองค์ ด้านหลังเป็นรูปพระนารายณ์สี่กร สวยงามมาก!
เสด็จเตี่ย กรมหลวงชุมพรฯ
เหรียญรุ่นแรกศาลปากน้ำประแสร์ จ.ระยอง ปี 2512 ขอบคุณภาพจาก www.facebook.com
  • เหรียญรุ่นแรกศาลปากน้ำตะโก จ.ชุมพร ปี 2519 เหรียญนี้จัดสร้างขึ้นในคราวเททองหล่อพระรูป เสด็จเตี่ยกรมหลวงชุมพรฯ เพื่อประดิษฐาน ณ ศาลปากน้ำตะโกในปี 2519! โดยพิธีพุทธาภิเษก จัดขึ้นที่ วัดชลธีพฤกษาราม อ.ทุ่งตะโก จ.ชุมพร ยอดเกจิสายใต้ร่วมปลุกเสกจำนวนมาก ลักษณะเป็นเหรียญทรงรูปไข่ เนื้อทองแดง แบ่งเป็นเหรียญ กะไหล่ทอง รุ่นเนื้อทองแดงผิวมันปูและทองแดงรมดำ มีราคา 5-6 พันบาทขึ้นไป!
เสด็จเตี่ย กรมหลวงชุมพรฯ
เหรียญรุ่นแรกศาลปากน้ำตะโก จ.ชุมพร ปี 2519 ขอบคุณภาพจาก www.facebook.com
  • เหรียญกรมหลวงชุมพรฯ วัดถ้ำเขาเงิน ปี 2511 ถูกจัดสร้างขึ้นเพื่อแจกจ่ายแก่ทหาร ตำรวจและผู้ที่เสียสละ ทำงานเพื่อประเทศชาติ! โดยพิธีพุทธาภิเษกจัดขึ้นภายในถ้ำ จปร. วัดถ้ำเขาเงิน ลักษณะเหรียญเป็นทรงกลม ด้านหน้าเป็นพระรูปเหมือนกรมหลวงชุมพรฯ ครึ่งพระองค์ ด้านหลังเป็นยันต์ ตำหรับสายเขาอ้อ!
เสด็จเตี่ย กรมหลวงชุมพรฯ
เหรียญกรมหลวงชุมพรฯ วัดถ้ำเขาเงิน ปี 2511 ขอบคุณภาพจาก www.facebook.com

สรุปส่งท้าย

เป็นอย่างไรกันบ้างสำหรับ 7 ความลับ เสด็จเตี่ย กรมหลวงชุมพรฯ ที่ นำมาฝากในวันนี้ มีข้อไหนที่เรายังไม่รู้กันบ้าง! สำหรับแอดมินนั้นไม่เคยรู้เลยสักข้อ นับเป็นความรู้ใหม่สำหรับวันนี้เลย ฟังดูเหมือนไม่ใช่คนไทยเลยเนอะ! (ก็แหงล่ะ เพราะแอดมินคือ “นางฟ้า”) แหวะ ๆ ขออนุญาตอ้วกค่าาาาา

สำหรับใครที่อ่านประวัติเสด็จเตี่ยจนเพลีย… ก็ขอเชิญมาจิบเบียร์ แล้วมาแฮปปี้นิวเยียร์ ที่บ้านพี่ได้นะคะ! อุ้ยยยย ขอบอกที่บ้านแอดมิน มีแต่บทความดี ๆ น่าอ่านทั้งนั้นเลยนะ! ขอแนะนำเข้าเว็บ ruay 365 เลย! แอดมินรวบรวมเทรนด์สีเสื้อต้อนรับปีใหม่ 2564 มาให้แล้ว! คลิกเข้าไปอัปเดตกันเลยจ้าาา

บทความ ruay 365 ต้อนรับปี 2564

Facebook
Twitter
Email