อานิสงส์ของการบวช

อานิสงส์ของการบวช พิเศษยิ่งกว่าการทำบุญชนิดไหน ๆ

นอกเหนือจากการเกณฑ์ทหารเมื่ออายุครบ 21 ปีแล้ว หนึ่งในหน้าที่ของชายไทยทุกคนที่นับถือศาสนาพุทธควรถือปฏิบัติ ก็คือการอุปสมบทหรือการบวชนาค เพื่อแสดงออกถึงความกตัญญูต่อบุพการี แต่ว่ากันตามตรงประเด็นที่ว่าจำเป็นไหมที่ลูกชายทุกคนต้องบวชเพื่อพ่อแม่ บางคนบวชบางคนก็ไม่บวช การบวชนั้นดีอย่างไร ทำไมชาวพุทธถึงอยากให้ลูกชายบวชพระกัน วันนี้ Ruay จะพาทุกคนไปดู อานิสงส์ของการบวช กันว่าส่งผลดีอย่างไรบ้าง

การบวชเณร และบวชพระ ต่างกันอย่างไร

ก่อนจะไปพูดถึงอานิสงส์ของการบวชนั้น เราไปทำความเข้าใจคำว่า “บวช” กันก่อนดีกว่า “บวช” มาจากภาษาบาลี  “ปพฺพชฺชา” ซึ่งหมายถึง “บรรพชา” แปลว่า เว้นทั่ว ในที่นี่หมายถึง การงดเว้นจากความชั่วทั้งปวง 

เราจะเรียกผู้ที่ถือบวชในพุทธศาสนาว่า พระ ภิกษุ หรือบรรพชิตก็ได้เช่นเดียวกัน ทว่าจริง ๆ แล้วคำว่า “การบวช” ที่เราพูดกันนั้น ไม่ได้ความความถึงแค่การ “บรรพชา” เท่านั้น แต่หมายถึงคำว่า “อุปสมบท” ด้วย โดยการบวชในพุทธศาสนาแยกได้ 2 ประเภท

การบรรพชา บวชเณร

การ “บรรพชา” หมายความว่า บวชเป็นเณร ผู้บวชจะต้องมีอายุตั้งแต่ 7 ปีขึ้นไป และถือศีล 10 ผู้ที่จะบวชเป็นเณรได้นั้น ต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ 

บวชเณร
  • ต้องรู้เดียงสา คือมีอายุตั้งแต่ ๗ ปีขึ้นไป 
  • ไม่เป็นโรคติดต่อ หรือโรคร้ายแรงเช่น โรคเรื้อน โรคฝีดาษ โรคกลาก โรคมงคร่อ หอบหืด ลมบ้าหมูและโรคที่สังคมรังเกียจอื่น ๆ 
  • ไม่เป็นผู้มีอวัยวะบกพร่อง หรือพิการ เช่น มือด้วน แขนด้วน ขาเป๋ ตาบอด หูหนวก เป็นใบ้ เป็นง่อย 
  • ไม่เป็นคนมีอวัยวะไม่สมประกอบ เช่น เตี้ยเกินไป สูงเกินไป คนคอพอก 
  • ไม่เป็นคนทุรพล เช่น แก่เกินไป ช่วยเหลือตนเองไม่ได้ 
  • ไม่เป็นคนมีพันธะ คือ คนที่บิดามารดาไม่อนุญาต คนมีหนี้สินล้นพ้นตัว ข้าราชการที่ไม่ได้รับอนุญาต 
  • ไม่เป็นคนเคยถูกลงอาญาหลวง เช่น คนถูกสักหมายโทษ คนถูกเฆี่ยนหลังลาย 
  • ไม่เป็นคนประทุษร้ายความสงบ เช่น เป็นโจรผู้ร้ายต้องอาญาแผ่นดิน

การอุปสมบท บวชพระ

การ “อุปสมบท” หมายความว่า บวชเป็นพระ ผู้บวชจะต้องมีอายุครบ 20 ปี และถือศีล 227 ข้อ ซึ่งการอุปสมบทหรือการบวชเป็นพระภิกษุที่ใช้มาตั้งแต่สมัยพุทธกาลจนถึงปัจจุบันมี 3 วิธี ได้แก่

บวชพระ
  1. เอหิภิกขุอุปสัมปทา เป็นการอุปสมบทที่พระพุทธเจ้าเป็นผู้ประทานให้โดยตรง ด้วยการที่พระองค์กล่าวว่า “จงเป็นภิกษุมาเกิด” วิธีการบวชลักษณะนี้ จึงมีแค่ในสมัยพุทธกาลเท่านั้น
  2. ติสรณคมนูปสัมปทา เป็นการบวชด้วยการปฏิญาณตนต่อพระไตรสรณคมณ์ ได้แก่ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ วิธีการบวชลักษณะจะเห็นจากพระสงฆ์พระพระอาจารย์บวชให้กับนาค
  3. ญัตติจตุตถกัมมอุปสัมปทา เป็นลักษณะของการบวช โดยให้พระสงฆ์ทั้งหมดประชุมกันในอุโบสถ จากนั้นจะมีพระสงฆ์รูปหนึ่งแจ้งว่าขอบวชในที่ประชุม 4 ครั้ง ถ้าไม่มีใครค้าน แปลว่าบวชได้

บวชชี ปลงผมกับไม่ปลงผม แตกต่างกันอย่างไร 

นอกจาการบวชพระและบวชเณรแล้ว ยังมีการบวชชีหรือบวชพราหมณ์ของสุภาพสตรีด้วย …ว่ากันว่าในสมัยพุทธกาล ไม่มีการบวชชีบัญญัติไว้ในพระพุทธศาสนา แต่จุดเริ่มต้นมากจากอุบาสิกาผู้ใคร่จะถือศีลให้สะดวก หนักแน่นกว่าการเป็นฆราวาส จึงกระทำตนให้เป็นนักบวช เรียกว่า “บวชชี” ซึ่งจริง ๆ แล้วไม่ใช่นักบวชในพระศาสนา แต่เป็นเพียงอุบาสิกาที่เพียรประพฤติศีลให้เข้าถึงความมั่นคงนั่นเอง

บวชชี

ส่วนการปลงผม ไม่ปลงผมนั้นก็ไม่ได้แตกต่างกันเท่าไหร่ กล่าวคือมีการรักษาศีล 8 เช่นเดียวกัน เพียงแต่ว่าผู้ปลงผม จะเป็นผู้ที่ตั้งใจอยู่ประพฤติพรหมจรรย์แบบถาวร ส่วนผู้ที่ยังไม่ถาวรก็ไม่ปลงผมนั่นเอง

ศีล 8 ประกอบด้วยอะไรบ้าง

ศีล 8 หรือศีลอุโบสถ ประกอบด้วย 1.การไม่ฆ่าสัตว์ตัดชีวิต 2.การไม่ลักทรัพย์ ขโมยของผู้อื่น 3.) การไม่ประพฤติผิดในกาม 4.) การไม่พูดโป้ปด 5.) การไม่อื่มสุราและของมึนเมา 6.) การไม่บริภาคในยามวิกาล 7.) การไม่ฟ้อนรำ ทำเพลง เว้นจากการแต่งองค์ทรงเครื่อง และ8.) การไม่นั่งหรือนอนที่นอนนุ่มหรือสูงจากพื้น

ศีลอุโบสถ นิยมถือปฏิบัติในวันไหนบ้าง

วชาวุทธทั่วไป มักจะถือศีล 8 ในวันพระใหญ่ วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา เช่น วันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา เป็นต้น

ข้อดีของการถือศีล 8 คืออะไร

ทำให้มีจิตใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และเมตตาต่อชีวิตผู้อื่น เป็นผู้ไม่มีความละโมบ ครอบครัวรักใคร่กลมเกลียว ปรองดองกันดี ไม่มีปัญหาทะเลาะเบาะแว้ง เป็นต้น

อานิสงส์ของการบวช

องค์สมเด็จพระบรมศาสดาตรัสว่า… การอุปสมบทบรรพชามีอานิสงส์พิเศษกว่าการทำบุญรูปแบบอื่น ไม่ว่าจะเป็นการถวายสังฆทาน ทอดกฐิน สร้างโบสถ์สร้างศาลา การทำบุญเหล่านี้จะได้อานิสงส์ก็ต่อเมื่อผ่านการโมทนาเท่านั้น แต่ว่าการอุปสมบทบรรพชา “สมมติว่าบุตรชายของท่านผู้ใดออกจากครรภ์มารดาวันนั้น บิดามารดาก็จากกัน ลูกกับพ่อแม่ย่อมไม่รู้จักกัน เวลาที่อุปสมบทบรรพชานั้น บิดามารดาไม่ทราบ แต่บิดามารดาย่อมได้อานิสงส์นั้นโดยสมบูรณ์ การอุปสมบทบรรพชาจึงจัดว่าเป็นกุศลพิเศษนั่นเอง

เมื่อนำมาจำแนกดูแล้ว เราจึงสามารถแบ่งอานิสงส์ของการบวชได้ 2  ประการ 

ประการที่ 1  อานิสงส์หลัก

  • กรณีของผู้ที่หมดกิเลส สำเร็จเป็นพระอรหันต์ ย่อมได้อานิสงส์คือ ทุกข์เก่าหมด ทุกข์ใหม่ไม่เกิด หมดกิเลส 
  • มองถึงด้านคุณธรรมในตัวของผู้บวช ทำให้ตัวเองเป็นผู้มีความบริสุทธิ์กาย วาจา ใจ จะได้น้ำใจงาม ที่เรียกว่า เป็นคนมีน้ำใจ เป็นผู้มีปัญญา

ประการที่ 2 อานิสงส์พลอยได้

  • อานิสงส์ที่เกิดแก่ผู้อื่น เช่น พ่อแม่ ญาติพี่น้อง ทำให้คนเหล่านี้ได้ใกล้ชิดพระพุทธศาสนามากขึ้น ได้ฟังธรรมมากขึ้น จากการไปเยี่ยมเยียนพระลูก นอกจากนี้อุปนิสัยที่ถูกขัดเกลาระหว่างที่บวช รวมถึงคำสั่งสอนต่าง ๆ ที่ได้ก็จะตกไปสู่ครอบครัว ผ่านตัวพระลูกด้วย 
  • อานิสงส์ทางธรรม เป็นผู้สืบทอดอายุพระพุทธศาสนา

สรุปส่งท้าย 

จึงอยากย้ำกับชาว Ruay ทุกท่านไว้อีกครั้งว่าการสร้างบุญสร้างกุศลยิ่งใหญ่ไม่จะจำเป็นที่ต้องเป็นผู้นุ่งขาวห่มขาวหรือห่มผ้าเหลือง เช่นเดียวกับภิกษุ สามเณร หรือแม่ชี เท่านั้น คนธรรมดาก็สามารถสร้างได้เช่นเดียวกัน ขอแค่มีความจริงใจ ศรัทธา และตั้งมั่นในการรักษาศีล เจริญจิตภาวนาอยู่เสมอ รวมไปถึงการทำบุญทำทานรูปแบบอื่นๆ เช่น การให้ทานกับคนยากไร้ การปล่อยสัตว์ ปล่อยปลา การทำบุญตักบาตร ก็จะสามารถสั่งสมเสบียงบุญ เพื่อนำไปใช้ในยามที่ตนเองหมดลมหายใจได้

บทความที่เกี่ยวข้อง

Facebook
Twitter
Email