ย่างเข้าสู่ “เดือนเก้า” เดือนแห่งเทศกาลสำคัญของชาวอีสาน เดือนที่ประตูนรกเปิดให้ดวงวิญญาณ ได้มาสู่โลกมนุษย์ เพื่อรับส่วนบุญกุศลจากญาติพี่น้องที่ยังมีชีวิตอยู่ หนึ่งในประเพณีสำคัญที่เพิ่งจัดไปสด ๆ ร้อน คือประเพณี บุญข้าวประดับดิน หรือ “บุญเดือนเก้า ข้าวประดับดิน” นั่นเอง
สารบัญ
Toggleประเพณีบุญข้าวประดับดิน คืออะไร ตรงกับวันที่เท่าไหร่
บุญข้าวประดับดิน เป็นประเพณีสำคัญของชาวอีสานที่สืบทอดกันมาอย่างยาวนาน จัดขึ้นเพื่อเป็นการอุทิศส่วนกุศลให้กับบรรพบุรุษที่ล่วงลับดับขันไปแล้ว รวมไปถึงสัตว์นรก และเปรต อสุรกายทั้งหลาย ในวันแรม 14 ค่ำเดือน 9 ของทุกปี โดยชาวบ้านจะนำห่อข้าวน้อย ที่บรรจุอาหารหวานคาว หมาก พลู บุหรี่ ไปวางบริเวณโคนต้นไม้ใหญ่ หรือพื้นดินรอบโบสถ์
พิธีกรรมในประเพณีบุญข้าวประดับดิน
การจัดงานบุญข้าวประดับดินนั้น จะเริ่มตั้งแต่ตอนเย็นของวันแรม 13 ค่ำเดือน 9 หรือเริ่มก่อนวันงาน 1 วัน ในวันนี้จะจัดเตรียมอาหารหวานคาว หมากพลู และบุหรี่ด้วยกัน 4 ชุด ได้แก่
- ชุดที่ 1 ไว้เลี้ยงในครอบครัว
- ชุดที่ 2 แจกจ่ายให้ญาติพี่น้อง
- ชุดที่ 3 ทำเป็นห่อข้าวน้อย หรือห่อใบตองขนาดเท่าฝ่ามือ สำหรับไปวางบริเวณโคนต้นไม้ อุทิศให้กับบรรพบุรุษ
- ชุดที่ 4 เตรียมถวายพระสงฆ์ในตอนเช้า
ห่อข้าวน้อย หัวใจสำคัญของ บุญข้าวประดับดิน
ห่อข้าวน้อย คือ ห่อใบตองขนาดเท่าฝ่ามือ ด้านในบรรจุข้าวเหนียวขนาดพอดีคำ 1 ก้อน เนื้อสัตว์ ผลไม้ หมาก 1 คำ บุหรี่1 มวน เมี่ยง 1 คำ กลัดด้วยไม้บริเวณหัวท้ายและตรงกลาง หลังจากนั้นก็นำห่อข้าวน้อย 2 ห่อมาผูกกันเป็นคู่ แล้วค่อยนำไปมัดรวมเป็นพวงอีกต่อหนึ่ง โดย 1 พวงจะมีด้วยกันทั้งหมด 9 ห่อ
การวางห่อข้าวน้อย
ชาวบ้านจะนำห่อข้าวน้อยที่จัดเตรียมไว้ ไปวางที่โคนต้นไม้ใหญ่ในวัด เจดีย์ และรอบกำแพงโบสถ์ ในเวลา 03.00 – 4.00 น.ของวันแรม 14 ค่ำ เดือน 9 ซึ่งการออกไปวัดยามวิกาลนี้ ห้ามส่งเสียงดัง จะพากันไปอย่างเงียบ ๆ ไม่มีการตีฆ้อง หรือตีกล่องใด ๆ
หลังจากวางกล่องข้าวน้อยเสร็จ ชาวบ้านก็จะกลับมาเตรียมอาหารใส่บาตรในเช้าวันรุ่งขึ้น ฟังธรรม และกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศล ให้กับบรรพบุรุษเป็นลำดับสุดท้าย
เพราะเวลา 04.00 – 06.00 น.เป็นช่วงเวลาที่พญายมราชปล่อยผีเปรตออกมาให้อยู่บนโลกมนุษย์เป็นเวลา 2 ชั่วโมง ดังนั้นการมาวางห่อข้าวน้อย จึงสะดวกกว่าช่วงเวลาอื่น ๆ เปรตและภูติผีสามารถมารับส่วนกุศล และอาหารที่จัดไว้ให้ได้นั่นเอง
พญายมราช หรือมัจจุราช คือเทพเจ้าแห่งนรก และความตาย คอยควบคุมดูแลวิญญาณที่อยู่ในนรก และคนที่อยู่ในโลกหลักความตาย
ยมทูต คือผู้หน้าที่นำดวงวิญญาณของคนตายที่อยู่ในโลกมนุษย์ ไปยังยมโลก ตามที่รับบัญชาการมา ซึ่งในศาสนาพุทธ จะถือว่ายมทูตเป็นเทวดาที่อยู่ในชั้นจาตุมหาราชิกา
ความเป็นมาของบุญข้าวประดับดิน
เมื่อครั้งพระเจ้าพิมพิสารได้ถวายภัตตาหารแด่พระพุทธเจ้า ตกดึกในคืนเดียวกัน ท่านได้ยินพระญาติ ที่เสียชีวิตมาร้องโหยหวนน่ากลัวมาก เช้ามาจึงได้มาเล่าให้พระพุทธเจ้าฟัง พระองค์จึงบอกกล่าวถึงสาเหตุ เมื่อพระเจ้าพิมพิสารได้ยินแบบนั้น ก็เลยถวายทานอีกครั้ง และอุทิศส่วนกุศลให้พระญาติที่ตายไปแล้ว เหตุการณ์ลักษณะดังกล่าวก็ไม่เคยเกิดขึ้นอีกเลย
สรุปส่งท้าย บุญข้าวประดับดิน
นอกจาก บุญข้าวประดับดิน แล้ว ก็ยังมีบุญประเพณีลักษณะเดียวกัน แต่พื้นที่อื่นเรียกชื่อต่างกัน เช่น บุญแซนโดนตา จ.ศรีสะเกษ ประเพณีเลี้ยงผี ซึ่งเป็นประเพณีแปลกภาคเหนือ ประเพณีบุญข้าวสาก นับว่าเป็นประเพณีท้องถิ่นที่ควรค่าแก่การรักษาและอนุกรักษ์ไว้ให้คนรุ่นหลังเป็นอย่างยิ่ง ชาว Ruay ท่านไหนที่อยู่ในพื้นที่ที่จัดงานบุญลักษณะนี้ ไม่แน่นะ ไปทำบุญกลับบ้านมานอนฝัน ผีปู่ย่าอาจจะบอกเลขเด็ด พาถูกหวยออนไลน์ เว็บ Tode ก็ได้
บทความที่เกี่ยวข้อง
- รู้จัก พิธีสืบชะตา ประเพณีสำคัญต่อชีวิตคนให้ยืนยาว มีความสุข
- ประเพณี ‘บุญกฐิน’ ‘บุญเดือนสิบสอง’ งานบุญครั้งใหญ่ของพุทธศาสนิกชนไทย
- บุญใหญ่ส่งท้ายปีวัน ตักบาตรเทโว ประเพณีที่สืบทอดมาอย่างยาวนาน
- วันสารทไทย-บุญข้าวสาก อีกหนึ่งประเพณีสำคัญของคนไทย
- ประเพณี “การส่อนขวัญ” ของชาวอีสานเรียบง่าย แต่แฝงด้วยภูมิปัญญา