โพสต์​ ไลค์​ แชร์​ แบบไหนผิดกฎหมาย

โพสต์​ ไลค์​ แชร์​ แบบไหนผิดกฎหมาย​ เสี่ยงติดคุก โดนฟ้อง

จริงอยู่ที่ว่า สื่อโซเชียลมีเดีย เป็นพื้นที่ส่วนตัว แต่การรู้เท่าทันโลกดิจิตัล (Digital Literacy) ดูเหมือนว่าจะสำคัญมากยิ่งขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งในแง่ของการทำความเข้าใจ และการกระทำต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการ “โพสต์ ไลค์ แชร์ แบบไหนผิดกฎหมาย” ส่วนนี้เป็นสิ่งสำคัญมากในยุค 5G ที่เป็นเหมือนดาบสองคม

การที่เราสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้อย่างรวดเร็ว สามารถแสดงความคิดเห็น แสดงออกถึงอารมณ์ ความรู้สึก และแชร์สิ่งต่าง ๆ ผ่าน Facebook Instagram Twitter Line Tiktok หรือช่องทางอื่น ๆ นั้น จากการที่เพียงแค่คลิกดู กดแชร์ต่อ โพสต์แสดงความคิดเห็นกันอย่างสนุกบนออนไลน์ รวมไปถึงแอบถ่ายรูป หรือวีดีโอคนอื่น แล้วนำไปโพสต์ต่อ ส่งต่อ เม้าท์กับเพื่อนอย่างสนุกสนาน 

ในเวลาเดียวกันก็ตามมาพร้อมกับภัยคุกคามที่เราไม่อาจรู้ได้ว่าวันหนึ่งจะโดนกับตัวเองหรือไม่  หรือเราอาจเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ใครบางคนต้องเดือดร้อนได้รับผลกระทบต่อชีวิต จนแทบจะไม่มีที่ยืนในสังคมโดยที่เราไม่รู้ตัวเลยก็ได้ ซึ่งในวันนี้ Ruay 365 จะมาแบ่งปันความรู้เท่าทันโทษตามหลักของกฎหมายว่าเล่นโซเชียลแบบไหน มีความผิดตามพรบ.คอมพิวเตอร์ เสี่ยงติดคุก เสี่ยงโดนฟ้อง จะมีอะไรบ้างไปดูกัน

ข้อคิดก่อน โพสต์​ ไลค์​ แชร์​

Ruay ขออนุญาตยกตัวอย่างเพื่อให้เข้าใจง่าย กรณีของดาราสาว ชื่อดัง “แมท ภีรนีย์ คงไทย” ที่ไม่ว่าสาวแมทจะโพสต์หรือให้สัมภาษณ์อะไรมักจะมีชาวเน็ตไปคอมเม้นต์วิพากษ์ วิจารณ์เสมอ จน 2 ปี ผ่านไป เธอทนไม่ไหวต้องออกมาเคลื่อนไหวกลับ โดยการยื่นฟ้องบุคคลที่ไปคอมเม้นต์รุนแรงในพื้นที่โซเชียลของเธอ ใช้คำด่าทอเสีย ๆ หาย ๆ และเรียกค่าเสียหายรายละ 1 ล้านบาทเลยทีเดียว แม้ว่าคู่กรณีจะออกมาโพสต์ขอโทษแล้วก็ตาม แต่หลักฐานก็มัดตัวพวกเขาจนหลีกเลี่ยงไม่ได้

เห็นแล้วใช่ไหมว่า การที่เรา โพสต์​ ไลค์​ แชร์​ หรือคอมเม้นต์ ตามอำเภอใจตามอารมณ์ไปนั้นมันสามารถย้อนกลับมาทำร้ายตัวเราเองได้อย่างไม่ทันตั้งตัว ดังนั้นก่อนที่จะทำอะไร ควรคิดให้ดีก่อน ซึ่งก่อนที่เรากำลังจะโพสต์ แชร์ หรือคอมเม้นต์บนโลกโซเชียล เราควรคัดกรองและคิดให้ดีเสียก่อน ตามข้อคิดง่าย ๆ ดังต่อไปนี้

Cyberbullying

คิดก่อนโพสต์ หรือ คอมเม้นต์ (Post & Comment)

  • ดูว่าการโพสต์หรือคอมเม้นต์นั้นกระทบใครหรือไม่ ? การโพสต์หรือคอมเม้นต์เรื่องทั่วไป เช่น วันนี้กินอะไรมา หรือวันนี้อากาศเป็นอย่างไร ถือเปนเรื่องปกติเพราะเป็นการทำด้วยอารมณ์ปกติ แต่หลายครั้งที่บางคนมักจะโพสต์หรือคอมเม้นต์ด้วยอารมณ์โกรธ ทำให้ไม่ค่อยฉุกคิด หรือขาดการไตร่ตรองให้รอบคอบ จนกลายเป็นไปกระทบความรู้สึกของคนอื่น หลายครั้งกลายเป็นการด่าทอ ดูหมิ่น เพื่อแลกมากับความสะใจส่วนตัวจนเกิดการฟ้องร้องขึ้นมา ดังนั้นจึงควรใช้สติให้มาก เพราะผลที่จะตามมา ไม่ใช่แค่ขอโทษแล้วก็จบ แต่มันอาจมีผลทางกฏหมาย อาจจะเสียเงิน หรือติดคุกได้โดยไม่รู้ตัว
  • เรารับกับคำวิจารณ์หรือความเห็นต่างได้หรือไม่ ? การรับความเห็นต่างจะช่วยให้เราเปิดโลกทัศน์ให้กับตัวเองได้มากขึ้น ในการท่องโลกโซเชียล เราต้องเตือนตัวเองอยู่เสมอว่า มีคนร้อยพ่อพันแม่และพวกเขาเหล่านั้นเติบโตมาในสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน ทำให้ความคิดความอ่านแตกต่างจากเราได้ โดยเฉพาะความคิดเห็นที่ค่อนข้างหยาบคายและรุนแรง ซึ่งเราอาจจะเจอได้เสมอ ดังนั้นถามตัวเองก่อนพร้อมหรือยังกับสภาพจิตใจ พร้อมหรือยังที่จะเผชิญกับสิ่งเหล่านี้
  • การโพสต์หรือคอมเม้นต์ข้อความเหล่านั้นมีประโยชน์ต่อตัวเราจริงหรือ ? บางอย่างก็ปล่อยผ่านบ้างก็ได้ เราไม่จำเป็นจะต้องป่าวประกาศทุกอย่างในชีวิตให้โลกได้รับรู้ ยิ่งหากข้อความที่เขียนลงไปนั้นเป็นไปในแง่ลบ มันไม่มีทางเป็นแง่บวกขึ้นมาได้ มีแต่จะลบมากขึ้นเรื่อย ๆ จนกลายเป็นติดลบในที่สุด โดยเฉพาะโลกโซเชียลที่แพร่กระจายข่าวได้ไวไม่แพ้เชื้อโรค ยิ่งต้องระวังตัวเองให้มาก เพราะคนไม่หวังดีปะปนอยู่ในทุกที่ ลองถามตัวเองดูดี ๆ ว่า มีประโยชน์อะไรกับการทำแบบนี้ หากเราได้ประโยชน์จริงก็ลองคำนวนถึงข้อดีข้อเสียด้วยว่าคุ้มกันไหมกับชื่อเสียง คุ้มกันไหมกับความรู้สึก ถ้าคิดว่าไม่คุ้มล่ะก็ถอยบ้างจะเป็นอะไรไป

คิดก่อนไลค์ (Like)

การกด Like เพื่อแสดงความเห็นว่า “ชอบ” หรือ “ไม่ชอบ” กับข้อความหรือรูปภาพที่มีคนโพสต์ถือเป็นสิทธิเสรีภาพที่สามารถทําได้ แต่ในการกด Like กรณีข้อความหมิ่นพระบรมเดชานุภาพเกี่ยวข้องกับความมั่นคงของรัฐ การก่อร้าย การก่อรัฐประหาร หรือปลุกระดมให้บุคคลภายนอกกระทําความผิดดังกล่าว อาจทําให้ผู้กด Like ถูกดําเนินคดีในฐานะผู้สนับสนุนความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงหรือการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพได้

คิดก่อนแชร์ (Share)

  • เช็คว่าสิ่งที่เราแชร์ไม่ใช่ข้อมูลที่ผิด บิดเบือน หรือส่งผลเสียต่อผู้อื่น เพราะอาจสร้างความเข้าใจผิดให้คนอีกมากได้
  • ข้อมูลที่เราได้แชร์ต่อไปนั้นได้รับการอนุญาตให้แชร์ต่อจากคนที่อยู่ในเรื่องราวหรือยัง 
  • การแชร์เรื่องเกี่ยวกับตัวเรา ถ้าเราแชร์อะไรออกไป นี่คือสิ่งที่อยากให้คนอื่นเห็นตัวเราเป็นแบบนี้หรือเปล่า ถ้าเรื่องราวเหล่านั้นมันกลับมาทำร้ายเราในภายหลังเราจะรับมือมันได้หรือไม่
  • ระมัดระวัง 4 สิ่งที่ควรฉุกคิดสักนิดก่อนกดแชร์บนโซเชียลมีเดีย ได้แก่ เบอร์โทรศัพท์, บัตรประชาชน ใบขับขี่ พาสปอร์ต, ตำแหน่ง แผนการเดินทาง และข้อมูลทางการเงิน

โพสต์​ ไลค์​ แชร์​ แบบไหนผิดกฎหมาย

THAILAND Cyber Law

การโพสต์ ไลค์ แชร์ มีผลตามกฎหมายพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐ ผู้ใดกระทำความผิดที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้ จะต้องโทษจำคุกหรือปรับ หรือทั้งจำทั้งปรับ ประกอบด้วย

  • โพสต์หรือเเชร์ข้อมูลที่เป็นเรื่องเท็จหรือปลอมแปลงข้อมูลอันทำให้ผู้อื่นหรือประชาชนเสียหาย โทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 200,000 บาท
  • การส่งข้อความ ข้อมูล หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ที่ทำให้ผู้อื่นเดือนร้อนรำคาญใจ ไม่สามารถปฏิเสธได้ หากมีการแชร์ข้อมูล หรือข้อความ จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ที่สร้างความเดือดร้อนรำคาญใจ โดยที่ผู้รับไม่ยินยอม และไม่สามารถปฏิเสธ หรือบอกเลิกได้ เช่น การส่งโฆษณา แบบ Spam Mail , การฝากร้านค้า , การส่งข้อความสมัครงาน ใน inbox หรื tag เฟซบุ๊ค เป็นต้น ผู้ใดกระทำสิ่งเหล่านี้ มีความผิดตามพรบ.คอมฯ 2560 มีโทษปรับไม่เกิน 2 แสนบาท
  • เผยแพร่ข้อมูล ข่าวสาร บิดเบือนความจริง ผู้ใดเผยแพร่ข้อมูลอันเป็นเท็จ ที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้อื่น หรือการแชร์ข่าวสารที่มีบิดเบือนความจริงที่ก่อให้เกิดการตื่นตระหนกแก่ประชาชน และความเสื่อมเสียต่อ ความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ, ความปลอดภัยสาธารณะ, ความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ มีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ศาลมีสิทธิ์ระงับข้อมูลนั้น ๆ ได้ทันที
  • การกดไลด์ หรือการแสดงรู้สึกในโลกโซเชียล (ชอบ ไม่ชอบ หัวเราะ ร้องไห้) โดยรวมแล้วถือว่าไม่ผิด เพราะถือว่าเป็นแสดงความคิดเห็นตามหลักของกฎหมายรัฐธรมนูญ ยกเว้นข่าวสารที่ทำให้เกิดความเสื่อมเสียต่อสถานบัน เพราะมีความผิดตามมาตรา 112
  • การเผยแพร่ และส่งต่อภาพโป๊เปลือย หรือลามกอนาจาร /การพนัน ผู้ใดแบ่งปัน แชร์-ส่งต่อ รูปภาพ และวีดีทัศน์ที่ส่อไปในทางโป๊เปลือย หรือเป็นกระตุ้นทำให้เกิดอารมณ์ทางเพศ เช่น การส่งต่อภาพ หรือวิดีโอลามกอนาจาร, การ Live สด ที่แสดงออกถึงการมีเพศสัมพันธ์-เต้นวาบหวิว, การพนันฟุตบอล สิ่งเหล่านี้มีความผิดตามพรบ.คอมฯ 2560 โทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 แสน หรือทั้งจำทั้งปรับ ศาลมีสิทธิ์ระงับได้ทันที
  • การตัดต่อภาพ หรือดัดแปลงข้อมูลของผู้อื่นในทางเสื่อมเสีย /การแชร์ภาพผู้เสียชีวิต ผู้ใดนำภาพที่สร้างขึ้นโดยการ ตัดต่อ ต่อเติม หรือดัดแปลง ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ แล้วนำไปแชร์ หรือส่งต่อ อันเป็นทำให้ผู้อื่นเสื่อเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง หรือเกิดความอับอาย รวมไปถึงภาพของผู้เสียชีวิตทำให้เสื่อมเสียเกียรติ มีโทษระวางจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 2 แสนบาท ศาลมีสิทธิ์ที่จะระงับ หรือลบข้อมูลนั้น ๆ ได้
  • การค้าขาย หรือส่งต่อโปรแกรมที่สร้างขึ้น โดยไม่ได้รับอนุญาติ /ละเมิดสิทธิทางปัญญา ผู้ใดทำการค้าขาย หรืแบ่งปันชุดคำสั่งที่จัดทำขึ้นโดยเฉพาะ เพื่อนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการกระทำความผิด อาทิ โปรแกรมแฮกระบบคอมพิวเตอร์ , การส่งต่อเพลง/ภาพยนตร์/สินค้าที่ละเมิดลิขสิทธ์ทางปัญญา มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 2 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 

สรุป

การเล่นสื่อโซเชียลมีเดียถือเป็นดาบสองคม เป็นทั้งคุณประโยชน์และโทษ ฉะนั้นไม่ว่าจะทำการใด ๆ ต้องคิด วิเคราะห์ และแยกแยะ ความถูกต้องของข้อมูลก่อนที่จะเผยแพร่ออกไปว่า โพสต์ ไลค์ แชร์ แบบไหนผิดกฎหมาย หากมีสติและพึงระลึกถึงก่อนจะทำการใด ๆ ก็จะช่วยลดภัยคุกคามที่เราไม่อาจรู้ได้ว่าวันหนึ่งจะโดนกับตัวเองหรือไม่  หรือเราอาจเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ใครบางคนต้องเดือดร้อนได้ 

สุดท้ายนี้ Ruay ขอฝากว่าอย่ามัวแต่ก้มหน้าก้มตาหาความสุขจากโลกโซเชียลเพียงอย่างเดียว ลองเงยหน้ามองความเป็นจริงในชีวิตจริงบ้าง อย่าปล่อยให้โลกโซเชียลมามีอิทธิพลกับคุณจนชีวิตไม่เป็นอันทำอะไรเลย เพราะสุดท้ายแล้วเราก็ต้องดำเนินชีวิตด้วยร่างกายและจิตใจที่มีตัวตนจริง ๆ ไม่ใช่โลกที่สร้างขึ้นมาเอง

บทความแนะนำอื่นๆที่น่าสนใจ

Facebook
Twitter
Email