ความเชื่อเรื่องเป็ด เป็ดเหลือง

คลายปม ความเชื่อเรื่อง “​เป็ด”​ ทำไมถึงกลายเป็นสัญลักษณ์ประท้วงทั่วโลก

คำว่า “เป็ด” พูดเบา ๆ ก็เจ็บ เรามักเข้าใจความหมายโดยนัยของเป็ดว่า เป็นคำเสียดเย้ย หมายถึง คนที่ทำอะไรได้หลาย ๆ อย่าง แต่ไม่เก่งสักอย่าง เปรียบได้กับลักษณะและพฤติกรรมของเป็ดที่ว่า บินได้แต่บินได้ไม่สูง ว่ายน้ำได้ไม่คล่อง และร้องเสียงไม่ไพเราะ ทำให้คนมองและมี ความเชื่อเรื่องเป็ด ไม่ดีเท่าไหร่นัก 

สังเกตได้จากวงการฟุตบอล ที่มักพูดถึงเสียดแนมคู่แข่ง โดยการเรียกสโมสรฟุตบอลทีมหนึ่งว่าเป็น “เป็ด” คล้ายกับว่า เก่งทุกถ้วยรางวัล แต่ความสามารถเหมือนเป็ด แต่ในทางตรงกันข้ามเป็ดกลับเป็นต้นแบบของเล่นยอดฮิตในอ่างอาบน้ำที่สร้างความสนุกสนานให้เด็ก ๆ ทั่วโลกได้อีกเช่นเดียวกัน 

ย้อนเส้นทาง “เป็ดเหลือง” สุดน่ารัก สัญลักษณ์การเคลื่อนไหวทางการเมือง

ถึงแม้ว่าเป็ดจะดูเหมือนของที่เหมาะกับเด็ก แต่หาใช่จะเป็นอย่างนั้นซะทีเดียว เพราะเป็ดเหลืองได้กลายมาเป็นสัญลักษณ์ทางการเมืองในหลายประเทศด้วย ซึ่งเรื่องราว ความเชื่อเรื่อง “​เป็ด”​ เหล่านี้จะมีที่มาที่ไปอย่างไร มาคลายปมหาคำตอบไปพร้อม ๆ กับ Ruay 365 ที่นี่

ที่มาของ “เป็ดเหลือง”

เป็ดยาง
ของเล่นเป็ดยาง

เป็ดเหลือง หรือ เป็ดยาง เป็นของเล่นยอดฮิตในอ่างอาบน้ำที่สร้างความสนุกสนานให้เด็ก ๆ ทั่วโลกมาทุกยุคทุกสมัยนับตั้งแต่ศตวรรษที่ 19 แรกเริ่มมันผลิตจากยางตันแข็ง ๆ ด้วยกระบวนการผลิตยางคงรูปที่คิดค้นโดย ชาร์ลส์ กู๊ดเยียร์ (Charles Goodyear) ผู้ก่อตั้งบริษัทผลิตยางรถยนต์ชื่อดังอย่าง Goodyear หากแต่เป็นของเล่นที่ลอยน้ำไม่ได้ แค่ให้เด็กเอาไว้กัดเคี้ยวเล่นแก้คันฟันแทน

หลังจากนั้นในปี 1940 ปีเตอร์ กานีน (Peter Ganine) ประติมากรชาวรัสเซียน–อเมริกัน ได้ออกแบบ คิดค้น และจดสิทธิบัตรเป็ดยางในรูปของของเล่นลอยน้ำออกมา โดยขายไปได้กว่า 50 ล้านตัวทั่วโลก หลังจากนั้นเป็ดยางก็กลายเป็นของเล่นที่แพร่หลาย มันถูกออกแบบในหลายฟังก์ชั่น ทั้งเป็ดยางที่บีบแล้วส่งเสียงร้องก้าบ ๆ เหมือนเป็ดจริง ๆ หรือออกแบบให้มีรูพ่นน้ำเล่น 

เป็ดยางกลับมาโด่งดังในวัฒนธรรมป๊อปอีกครั้งในปี 1970 จากเพลงประกอบรายการโทรทัศน์ เซซามี สตรีท อย่างเพลง Rubber Duckie จนทำให้เป็ดยางกลายเป็นสัญลักษณ์ของความบริสุทธิ์ สดใส ไร้เดียงสา ที่เชื่อมโยงกับความสนุกสนานของเด็ก ๆ องค์กรการกุศลทั่วโลกสามารถใช้เป็ดยางเป็นสัญลักษณ์ได้อย่างปลอดภัยโดยไม่ต้องกังวลว่าจะสื่อถึงความหมายในแง่ลบ

“เป็ดเหลือง” สัญลักษณ์แห่งวัยเยาว์สู่งานศิลปะ

Giant Robber Duck
Giant Robber Duck ผลงานของ ฟลอเรนเตน ฮอฟแมน (Florentijn Hofman)

เริ่มมาจากที่ในช่วงปี 2007 ศิลปินชาวดัตช์ ฟลอเรนเตน ฮอฟแมน (Florentijn Hofman) ได้สร้างประติมากรรมเป็ดยางยักษ์ที่ต่อมาได้ไปปรากฏตัวตามที่ต่าง ๆ ทั่วโลก ตั้งแต่ฮ่องกง, จีน, บราซิล, ซิดนีย์, โตรอนโต, ฝรั่งเศส โดยเป็ดแต่ละตัวที่ไปปรากฏในแต่ละที่นั้นล้วนสร้างขึ้นมาใหม่ โดยที่แต่ละตัวจะมีความสูงไม่เท่ากัน และแต่ละครั้งที่เป็ดยักษ์ไปปรากฏตัวที่ไหน มันก็สามารถดึงคนให้มาชื่นชนได้วันละเป็นพัน ๆ คน

เป้าหมายในการทำงานศิลปะของเขาคือ การแสดงออกและส่งสารแห่งการเยียวยาให้กับคน แต่ก็มีคนอีกไม่น้อยที่ชิงชังประติมากรรมเป็ดยางตัวนี้ จนนักวิจารณ์ศิลปะบางคนวิพากษ์จารณ์ว่าไม่ใช่งานศิลปะ และไม่สร้างความหมายอะไรให้กับพื้นที่ที่มันปรากฎตัวอยู่เลยแม้แต่น้อย บางคนเกลียดชังถึงขนาดบุกเข้าก่อวินาศกรรมด้วยการแทงเป็ดยางถึง 42 แผล ขณะที่แสดงอยู่ในเบลเยียมในปี 2009 

ถึงแม้ว่าเป็ดยางจะเป็นของเล่นที่น่ารัก ใสซื่อบริสุทธิ์เพียงใด หรือแม้ตัว ฟลอเรนเตน ฮอฟแมน จะไม่ได้ทำผลงานเจ้าเป็ด  Rubber Duck ให้เกี่ยวข้องกับประเด็นทางการเมืองแต่อย่างใด แต่ท้ายที่สุด วัตถุชิ้นนี้ก็ดันกลายเป็นสัญลักษณ์เคลื่อนไหวทางการเมืองไปเสียได้

“เป็ดเหลือง” สัญลักษณ์ประท้วงทั่วโลก

Tank Man
Tank Man ภาพตัดต่อเข้ากับภาพข่าวการเมืองอันโด่งดังของประเทศจีน

ประเทศจีน : นักเคลื่อนไหวชาวจีนเอาภาพเป็ดเหลือง ไปตัดต่อเข้ากับภาพข่าวการเมืองอันโด่งดังของ ‘ไอ้หนุ่มรถถัง’ หรือ ‘Tank Man’ ผู้หาญกล้ายืนประจันหน้ารถถังเพียงลำพังในช่วงเหตุการณ์การประท้วงที่จัตุรัสเทียนอันเหมินในปี 1989 โดยเป็ดยางถูกโฟโต้ช็อปเข้าไปแทนรถถังสามคันในภาพเดิมอย่างน่าขัน จนกลายเป็น ‘มีม’ ที่แพร่หลายไปทั่วโลก 

และทำให้เจ้าเป็ดยางสีเหลืองตัวนี้กลายเป็นหนึ่งในสัญลักษณ์ทางการเมืองไปในทันทีทันใด ทำให้เมื่อเสิร์ชคำว่า ‘Big Yellow Duck’ (เป็ดเหลืองตัวใหญ่) ในเสิร์ชเอนจินของจีนจะลิงก์ไปหน้าที่มีข้อความประกาศว่า คำที่เสิร์ชนั้นเป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐและกฎหมายของประเทศกันเลยทีเดียว

เป็ดเหลืองม็อบ
เป็ด สัญลักษณ์การประท้วงในประเทศเซอร์เบีย ขอบคุณภาพจาก ANDREJ ISAKOVIC/AFP VIA GETTY IMAGES

ประเทศเซอร์เบีย : กลุ่มประชาชนและนักเคลื่อนไหวที่เรียกตัวเองว่า “Let Us Not Drown Belgrade” นัดชุมนุมเดินขบวนพร้อมกับใช้ เป็ดยางสีเหลืองตัวโตที่มีความสูง 2 เมตร เป็นสัญลักษณ์เพื่อคัดค้านการลงนามข้อตกลงร่วมระหว่างรัฐบาลเซอร์เบียกับบริษัทอีเกิล ฮิลส์จากสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ในการโครงการพัฒนาพื้นที่ริมน้ำในกรุงเบลเกรดซึ่งมีมูลค่ากว่า 3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือราว 9.1 หมื่นล้านบาท

ในคอลัมน์ที่ตีพิมพ์ในเว็บไซต์ของสำนักข่าวบลูเบิร์ก อธิบายว่า ในภาษาเซอร์เบียน คำว่า “เป็ด” (patka) มีความหมายสแลงว่า “ทุจริต” ซึ่งวลีที่ผู้ชุมนุมมักกล่าวถึงก็คือ “มาบอกเรื่องทุจริตที่เกิดขึ้นให้พวกเขาได้รู้”

เป็ดเหลืองม็อบ
เป็ด สัญลักษณ์การประท้วงในประเทศรัสเซีย ขอบคุณภาพจาก DMITRY SEREBRYAKOV\TASS VIA GETTY IMAGES

ประเทศรัสเซีย : เป็ดยางปรากฏในภาพข่าวอีกครั้งที่กรุงมอสโกของรัสเซีย ผู้เข้าร่วมส่วนใหญ่เป็นวัยรุ่นอายุ 20 ต้น ๆ ทั้งนี้กิมมิคสำคัญของการประท้วงก็คือการถือเป็ดสีเหลือง รองเท้าผ้าใบ และทาใบหน้าเป็นสีเขียว ผู้ประท้วงจำนวนหนึ่งแบกเป็ดยางสีเหลืองพร้อมกับกล่าวว่าเขาไม่ต้องการให้คนรวยครอบครองแม่น้ำ ไม่ต้องการให้แม่น้ำกลายเป็นสมบัติส่วนตัวของใคร

ในระหว่างการประท้วงนำโดยนายอเล็กเซ นาวาลนี ผู้เคยพยายามลงชิงชัยตำแหน่งประธานาธิบดีรัสเซียในการเลือกตั้งในปีนั้น แต่ถูกคณะกรรมการการเลือกตั้งรัสเซียตัดสิทธิ์ โดยการประท้วงจัดขึ้นที่จตุรัสพุชกิน ซึ่งไม่ได้รับอนุญาตจากทางการ

เป็ดเหลือง
เป็ด สัญลักษณ์การประท้วงในประเทศบราซิล ขอบคุณภาพจาก Courtesy of Getty Images

ประเทศบราซิล :  เจ้าเป็ดยางสีเหลืองก็ถูกใช้เป็นสัญลักษณ์ของการประท้วงในบราซิล กับความหมายที่ว่า ‘บราซิลไม่เอาเป็ด’ หรือ ‘เราจะไม่จ่ายเป็ดแล้ว’ ซึ่งการจ่ายเป็ดก็หมายถึงการจ่ายเงินสำหรับความผิดพลาดของคนอื่น ในที่นี้หมายถึงการจ่ายภาษีที่เพิ่มขึ้นของประชาชน เพื่อชดเชยรายได้ที่ลดลงของรัฐบาล สำหรับเป็ดประท้วงที่บราซิล จะมีสัญลักษณ์ ‘X’ อยู่ที่ดวงตาด้วย พร้อมข้อความ ‘อย่าไปให้อาหารมัน! ปล่อยให้เป็ดตาย!’

เป็ดเหลือง
เป็ด สัญลักษณ์การประท้วงในประเทศไทย ขอบคุณภาพจาก springnews.co.th

ประเทศไทย : กระทั่งในประเทศไทยล่าสุด กลุ่มผู้ชุมนุมได้ใช้เป็ดเป็นสัญลักษณ์ในการเคลื่อนไหวทางการเมืองและเกิดเหตุปะทะขึ้นกับเจ้าหน้าที่ในวันที่ 17 พ.ย. 63 การปะทะระหว่างผู้ชุมนุมและเจ้าหน้าที่เกิดขึ้นเป็นระลอก ตลอดระยะเวลากว่า 5 ชั่วโมง และเป็ดยางถูกใช้เป็นอุปกรณ์ป้องกันของกลุ่มผู้ชุมนุม หลายคนใช้น้องเป็ดมากำบังน้ำที่ผสมแก๊สน้ำตา และเมื่อเหตุการณ์สงบลงทุกคนเห็นซากน้องเป็ดที่พังยับเยิน จนกลายเป็นภาพที่เป็นกระแสไปทั่วโลก เรียกได้ว่าเป็นการแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ที่มาหนึ่งได้ถึงสอง คือได้ทั้งอุปกรณ์ป้องกัน และได้ทั้งความสนใจจากชาวโลกเลยทีเดียว

สรุป

ในสมัยก่อนหากพูดถึง ความเชื่อเรื่องเป็ด ​หรือคำว่า “เป็ด” ทุกคนจะเข้าใจได้ว่า เป็นคำเสียดเย้ย หมายถึง คนที่ทำอะไรได้หลาย ๆ อย่าง แต่ไม่เก่งสักอย่าง คล้ายกับลักษณะพฤติกรรมของเป็ด แต่เมื่อกาลเวลาเปลี่ยนแปลงไป เป็ด ได้กลายสัญลักษณ์แห่งวัยเยาว์สู่งานศิลปะ ที่เชื่อมโยงกับความสนุกสนานของเด็ก ๆ โดยมีเป็ดยางเป็นสัญลักษณ์ความบริสุทธิ์ สดใส ไร้เดียงสา โดยไม่ต้องกังวลว่าจะสื่อถึงความหมายในแง่ลบ

ต่อมาถึงแม้ว่าเป็ดจะดูเหมือนของที่เหมาะกับเด็ก แต่ใช่ว่าจะเป็นอย่างนั้นซะทีเดียว เพราะเป็ดเหลืองได้กลายมาเป็นสัญลักษณ์ทางการเมืองในหลายประเทศด้วย เช่น จีน เซอร์เบีย รัสเซีย บราซิล​ และล่าสุดที่ประเทศไทยของเรา จึงเป็นที่มาในปัจจุบันที่เป็ดยางไม่ใช่แค่เป็นเป็ดน้อยในอ่างน้ำอีกต่อไป แต่กลับสร้างแรงกระเพื่อมทางสังคมโดยเฉพาะในแง่การเมืองได้อย่างต่อเนื่องนั่นเอง

บทความอื่นๆที่น่าสนใจ

Facebook
Twitter
Email