เผยความหมาย วันพระ วันสำคัญของชาวพุทธ พร้อมวิธีปฏิบัติตนในวันพระ

วันพระ เป็นหนึ่งในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา อีกทั้งยังเป็นวันสำคัญของพุทธศาสนิกชนที่มีบ่อยที่สุด โดยสัปดาห์ละครั้งเลยก็ว่าได้ อยากรู้กันไหมว่าทำไม วันพระถึงมีบ่อย และการปฏิบัติตนต้องทำอย่างไร มาทางนี้ แล้วหาคำตอบไปพร้อมกัน

JBU 11 1200x600 1
ขอบคุณภาพจาก ภาพวิว.com

ความเป็นมาของวันพระ

วันพระ เกิดขึ้นจากการที่พระพุทธเจ้า ทรงอนุญาตให้พระสงฆ์ประชุมสนทนาธรรมและแสดงพระธรรมเทศนาแก่ประชาชน หลังจากในสมัยพุทธกาล พระเจ้าพิมพิสาร กษัตริย์ผู้ครองแคว้นมคธ ได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า ซึ่งประทับอยู่ที่ เขาคิชกูฏ แล้ว
กราบทูลว่าทำไม ? พุทธศาสนาถึงไม่มีวันประชุมสนทนาเกี่ยวกับหลักธรรมคำสอนในศาสนา เหมือนกับศาสนาอื่นๆ เมื่อเป็นดังนั้นพระพุทธองค์จึงตามคำขออนุญาตของพระเจ้าพิมพิสาร

ขอบคุณภาพจาก มาจากดิน

แต่เดิมวันพระไม่ได้ถูกกำหนดให้ตรงกับวันขึ้น 8 ค่ำ, วันขึ้น 15 ค่ำ (วันเพ็ญ), วันแรม 8 ค่ำ และวันแรม 15 ค่ำ (หากเดือนใดเป็นเดือนขาด ถือเอาวันแรม 14 ค่ำ) เพราะสมัยนั้นสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงประชุมพระสงฆ์สาวกเพื่อทรงสั่งสอนธรรม เป็นไปโดยไม่ได้นัดหมาย แต่จะเกิดขึ้นทุกๆ 8 วัน ทำให้เมื่อนำมาเทียบเคียงกับปฏิทินจันทรคติแล้ววันดังกล่าวตรงกับวันขึ้น 8 ค่ำ, วันขึ้น 15 ค่ำ (วันเพ็ญ), วันแรม 8 ค่ำ และวันแรม 15 ค่ำพอดี เมื่อเป็นดังนั้นจึงกำหนดให้ทั้ง 4 วัน ในรอบ 1 เดือนเป็นวันพระดังกล่าว

วันพระ หรือ วันธรรมสวนะ หรือ วันอุโบสถ คือวันประชุมของพุทธศาสนิกชน เพื่อปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนาในพระพุทธศาสนาประจำสัปดาห์ อันได้แก่ วันถือศีลฟังธรรม และไม่ทำบาปใด ๆ ในวันพระ โดยเชื่อกันว่าการทำบาปหรือไม่ถือศีลห้าในวันพระถือว่าเป็นบาปมากกว่าในวันอื่น ซึ่งปัจจุบัน วันพระ เป็นธรรมเนียมปฏิบัติ อยู่เฉพาะประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาเถรวาท เท่านั้น เช่น ศรีลังกา, พม่า, ไทย, ลาว และเขมร

ในประเทศไทย พุทธศาสนิกชนจึงถือเอาวันดังกล่าวมาเป็นวันธรรมสวนะเพื่อถือศีล ปฏิบัติธรรม ประกอบบุญกุศล และกระทำกิจของสงฆ์มาตั้งแต่สมัยสุโขทัย โดยในวันนั้น พุทธศาสนิกชนทั้งหลายจะไปทำบุญ ถวายภัตตาหารแด่พระภิกษุสงฆ์ นั่งฟังธรรม และงดเว้นต่อการทำบาปทั้งปวงเช่นกัน หรือเรียกง่ายๆ ว่า เป็นวันสร้างความดี 1 วันต่อสัปดาห์

ทั้งนี้นอกจากวันพระแล้ว ในไทยยังมีคำเรียกวันก่อนวันพระหนึ่งวันว่า วันโกน เพราะปกติในวันขึ้น 14 ค่ำปกติ ก่อนวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เป็นธรรมเนียมของพระสงฆ์ในประเทศไทยที่จะโกนผมในวันนี้นั่นเอง

การเตรียมตัวไปทำบุญในวันพระ

เมื่อทราบความเป็นมาของวันพระกันแล้ว คราวนี้มาดูวิธีการปฏิบัติตัวของชาวพุทธกันบ้าง โดยพุทธศาสนิกชนส่วนใหญ่จะมีการเตรียมตัว และปฏิบัติกิจในช่วงวันพระ ดังนี้

1. เตรียมกาย

ควรแต่งกายด้วยเสื้อผ้าสีขาวเรียบ หรือสีที่ ไม่ฉูดฉาด ไม่หลวมไม่คับเกินไป เนื่องจากจะไม่คล่องตัว ไม่ประดับร่างกายด้วยเครื่องประดับ ไม่ใช้เครื่องประทินผิว เช่น น้ำหอม เป็นต้น รับประทานอาหารแต่พอดี ไม่อิ่มจน อึดอัด เพื่อประทังความหิว เนื่องจากหากมีอาการหิว อาการกระหาย จะทำให้จิตใจไม่สบายไปด้วย ควรงดเว้นอาหาร ที่อาจจะทำให้เกิดอาการท้องเสีย เป็นต้น

2. เตรียมใจ

ให้ตัดความวิตกกังวลที่จะเกิดขึ้น เช่น เรื่องครอบครัว เรื่องการงานออกในวันนี้ เพื่อเราจะได้อยู่กับตัวเอง และเจริญสติภาวนาด้วยการทำสมาธิเพื่อให้เกิดปัญญา นำไปสู่การแก้ไขปัญหาต่างๆ ได้

3. เตรียมสิ่งของ

ให้จัดเตรียมดอกไม้ธูปเทียน อาหาร หวานคาว รวมถึงสิ่งของอื่น ๆ (ปัจจัยไทยธรรม) เพื่อไป ถวายพระสงฆ์ตามกำลังและความศรัทธา เพราะถือว่าเป็นการทำบุญ ทำจิตใจ ให้บริสุทธิ์ ละการทำบาปทั้งปวง

Image
ขอบคุณภาพจาก วัดภัททันตะอาสภาราม

ขั้นตอนในการปฏิบัติธรรม

1. การทำวัตรสวดมนต์

พระสงฆ์จะทำวัตรสวดมนต์ก่อน เมื่อพระสงฆ์ทำวัตรสวดมนต์จบ อุบาสกอุบาสิกาจึงทำวัตรสวดมนต์ต่อจากพระสงฆ์ บางวัดอาจจะสวดมนต์แปล แต่บางวัดอาจจะสวดมนต์เป็นล้วนๆไม่สวดแปล พุทธศาสนิกชนสามารถทำตามธรรมเนียมของวัดนั้นๆ

ซึ่งการทำวัตรสวดมนต์ในวันพระนี้ ก็เพื่อทำให้จิตมีสมาธิ มีสติตลอดเวลา การปรุงแต่งของอารมณ์ลดน้อยลง ส่งผลมีสุขภาพร่างกาย และใจดี เพราะเวลาเราสวดมนต์ทำให้ตามอง ปากอ่าน หูฟัง ทำให้เกิดสมาธิ สมาธิก่อให้เกิดซึ่งปัญญา ปัญญาจะนำพาชีวิตของเราให้ไปได้อย่างราบรื่น

อีกทั้งในทางวิทยาศาสตร์ พิสูจน์แล้วว่า เวลาที่เราเปล่งเสียงสวดมนต์ จะทำให้น้ำในตัวเราเรียงโมเลกุล เป็นน้ำที่มีผลึกใส ผิวเราจะใส ใจสว่าง เรียกได้ว่า ผิวเปล่งปลั่ง เพราะเป็นความงามที่ออกมาจากใจ ยิ่งถ้ามีความเข้าใจในบทสวดมนต์นั้นๆ ด้วย ก็จะยิ่งเป็นการสร้างปัญญาให้แก่ตัวผู้สวดด้วย

2. การรับศีล

ในวันธรรมดาโดยทั่วไปจะสมาทานศีล 5 ในวันธรรมสวนะ (วันพระ) จะสมาทานอุโบสถศีลหรือศีลอุโบสถมี 8 ข้อ ได้แก่

1) เว้นต่อการเข่นฆ่าเอาชีวิต

2) เว้นต่อการลักเล็กขโมยน้อย

3) เว้นต่อเรื่องเพศกามอารมณ์

4) เว้นต่อการพูดปดพูดโกหกหลอกลวง

5) เว้นต่อการดื่มสุรา ของมึนเมา

6) เว้นต่อการรับประทานอาหารหลังมื้อเที่ยง

7) เว้นต่อการแต่งกายพร้อมเครื่องประดับสวยงามและน้ำหอม และงดการดูการละเล่นต่างๆ

8) เว้นต่อการนอนบนที่นอนนุ่มสบาย

ซึ่งการสมาทานศีลนี้ คือ การให้คำมั่นสัญญาแก่ตนเอง และผู้อื่นว่าจะปฏิบัติตามข้อห้ามต่างๆ อันแสดงถึงความเป็นคนมีจิตใจมั่นคง พูดจริงทำจริง ไม่เหลาะแหละโลเล โดยในพุทธศาสนาจะมีการสมาทานศีล 5 และศีล 8 และสมาทานศีลสามารถทำเองได้ที่บ้านหน้าหิ้งพระก็ได้ ตอนเช้าหรือเย็น กลางคืน ก่อนนอนแล้วแต่สะดวก

หรือจะสมาทานทุกครั้งที่รู้ตัวว่าทำผิดศีลข้อนั้นๆ ก็ได้ โดยที่เราไม่ได้อยู่หน้าหิ้งพระได้เหมือนกันเพราะทุกอย่างอยู่ที่เจตนาเป็นสำคัญ เพราะถ้าเรารับศีลกับพระก็ดีหรือสมาทานหน้าหิ้งพระก็ดี โดยที่ปากเราก็พูดไปงั้นๆ แต่ไม่ได้ตั้งใจปฏิบัติจริงก็ไม่ได้ผลอะไร เพราะฉะนั้นทุกอย่างอยู่ที่เจตนาคือความตั้งใจที่จะประพฤติปฏิบัติรักษาศีลให้บริสุทธิ์นั่นคือหัวใจสำคัญ

3. การฟังธรรม

การฟังธรรม เป็นสิ่งสำคัญมากๆ เพราะคนในสมัยพุทธกาลจำนวนมากบรรลุโสดาบัน และอรหันต์ได้จากการฟังธรรมเพียงอย่างเดียว การฟังธรรมจึงเป็นเครื่องมือที่ขัดเกลาจิตใจได้ดีมากอย่างหนึ่ง คนชั่วเลิกทำชั่วก็เพราะได้ฟังธรรม คนดีทำดีมากขึ้นก็เพราะได้ฟังธรรม

ซึ่งการฟังธรรมจะช่วยให้เราเข้าใจความเป็นจริงของชีวิต หากเรานำธรรมะไปปฏิบัติในชีวิตประจำวัน ก็ช่วยแก้ปัญหาความทุกข์ใจให้หมดไปได้ การฟังธรรมนอกจากจะฟังโดยตรงแล้ว การอ่านหนังสือธรรมะหรือพระไตรปิฎกก็สามารถพัฒนาจิตใจให้สูงขึ้นในลักษณะใกล้เคียงกันได้

4. การบำเพ็ญจิตภาวนา

เป็นการทำจิตใจให้สงบ ควบคุมจิตที่ฟุ้งซ่านให้อยู่กับที่จนเกิดเป็นสมาธิ จนเกิดความอิ่มเอมใจ เกิดปัญญานำไปสู่การแก้ปัญหาต่างๆ ได้ ซึ่งการบำเพ็ญจิตภาวนานั้นส่วนใหญ่นิยมกันในลักษณะการกำหนดลมหายใจเข้า-ออก เพราะเป็นวิธีที่ง่ายและช่วยให้จิตอยู่กับที่ไปแว่บไปมาได้ง่ายนั่นเอง

5. การถวายสังฆทาน

สำหรับการถวายสังฆทาน คือการทำบุญรูปแบบหนึ่งในหลายๆ วิธี ที่ได้รับความนิยมอย่างมากในหมู่พุทธศาสนิกชน เพราะการทำบุญด้วยการให้ทาน เป็นการลดความเห็นแก่ตัว การไม่ยึดติดในวัตถุสิ่งของ และลดความคับแคบในจิตใจของตัวให้น้อยลง อีกทั้งสิ่งที่เราบริจาคหรือให้ทานแก่ผู้อื่นยังสามารถช่วยบรรเทาความเดือดร้อนและเป็นประโยชน์ต่อผู้รับและสังคมโดยส่วนรวมด้วย โดยคนไทยเชื่อกันว่า การถวายสังฆทาน เป็นวิธีการทำบุญที่ได้บุญมาก เพราะเป็นการถวายทานที่ไม่ระบุเฉพาะว่าเป็นพระสงฆ์รูปใด ผู้ที่ประสงค์จะทำทานจะเตรียมสิ่งของที่จะถวายทาน เมื่อพร้อมแล้วนำไปถวายสังฆทานแด่พระภิกษุเพื่อนำไปใช้ประโยชน์

บทสวดมนต์ สำหรับวันพระ

ทราบขั้นตอนและการปฏิบัติตัวกันแล้ว คราวนี้มาดูบทสวดมนต์ในวันพระกันบ้าง ว่ามีขึ้นตอนและความหมายอย่างไรบ้าง ถ้าพร้อมแล้วไปติดตามกันเลย

ก่อนสวดมนต์ทุกบท ให้ตั้งนะโมฯ 3 จบก่อน

นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

(ขอนอบน้อม แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้น ซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลส ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง)

Lotus 7
ขอบคุณภาพจาก MThai

บทสวดมนต์ พระไตรสรณคมน์

พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ (ข้าพเจ้าขอถือเอาพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งที่ระลึก)

ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ (ข้าพเจ้าขอถือเอาพระธรรมเป็นที่พึ่งที่ระลึก)

สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ (ข้าพเจ้าขอถือเอาพระสงฆ์เป็นที่พึ่งที่ระลึก)

ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ (แม้ครั้งที่สอง ข้าพเจ้าขอถือเอาพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งที่ระลึก)

ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ (แม้ครั้งที่สอง ข้าพเจ้าขอถือเอาพระธรรมเป็นที่พึ่งที่ระลึก)

ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ (แม้ครั้งที่สอง ข้าพเจ้าขอถือเอาพระสงฆ์เป็นที่พึ่งที่ระลึก)

ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ (แม้ครั้งที่สาม ข้าพเจ้าขอถือเอาพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งที่ระลึก)

ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ (แม้ครั้งที่สาม ข้าพเจ้าขอถือเอาพระธรรมเป็นที่พึ่งที่ระลึก)

ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ (แม้ครั้งที่สาม ข้าพเจ้าขอถือเอาพระสงฆ์เป็นที่พึ่งที่ระลึก)

Pray
ขอบคุณภาพจาก Sanook

บทสรรเสริญ พระพุทธคุณ

อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง  สัมมาสัมพุทโธ

วิชชาจะระณะสัมปันโน  สุคะโต โลกะวิทู

อะนุตตะโร ปุริสสะธัมมะสาระถิ

สัตถาเทวะมนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ

คำแปล

เพราะเหตุอย่างนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้ไกลจากกิเลส เป็นผู้ตรัสรู้ชอบโดยพระองค์เอง เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เป็นผู้ไปแล้วด้วยดี เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง เป็นผู้สามารถฝึกบุรุษที่สมควรฝึกได้ อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า เป็นครูผู้สอนของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานด้วยธรรม เป็นผู้มีความเจริญจำแกธรรมสั่งสอนสัตว์ ดังนี้

Meditation
ขอบคุณภาพจาก Tina Hoffman

บทสวด มหาการุณิโก(ชัยยะปริตร)

มะหาการุณิโก นาโถ หิตายะ สัพพะปาณินัง ปูเรตวา ปาระมี สัพพา ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โหตุ เต ชะยะมังคะลังฯ

ชะยันโต โพธิยา มูเล สักยานัง นันทิวัฑฒะโน เอวัง ตวัง วิชะโย โหหิ ชะยัสสุ ชะยะมังคะเล อะปะราชิตะปัลลังเก สีเส ปะฐะวิโปกขะเร อะภิเสเก สัพพะ พุทธานัง อัคคัปปัตโต ปะโมทะติฯ สุนักขัตตัง สุมังคะลัง สุปะภาตัง สุหุฏฐิตัง สุขะโณ สุมุหุตโต จะ สุยิฏฐัง พรัมหมะจาริสุ ปะทักขิณัง กายะกัมมัง วาจากัมมัง ปะทักขิณัง ปะทักขิณัง มะโนกัมมัง ปะณิธีเต ปะทักขิณา ปะทักขิณานิ กัตวานะ ละภันตัตเถ ปะทักขิเณฯ

“ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา สัพพะพุทธานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เตฯ (ท่อง 3 จบ)

คำแปล

สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระผู้ทรงเป็นที่พึ่งของสรรพสัตว์ทรงประกอบด้วยพระมหากรุณา ทรงบำเพ็ญพระบารมีทั้งปวง เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่สรรพสัตว์ ทรงบรรลุพระสัมโพธิญาณอันสูงสุด ด้วยการกล่าวสัจจวาจานี้ ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ท่าน

ขอท่านจงมีชัยชนะในชัยมงคลพิธี ดุจพระจอมมุนีผู้ยังความปีติยินดีให้เพิ่มพูนแก่ชาวศากยะ ทรงมีชัยชนะมาร ณ โคนต้นมหาโพธิ์ทรงถึงความเป็นเลิศยอดเยี่ยม ทรงปีติปราโมทย์อยู่เหนืออชิตบัลลังก์อันไม่รู้พ่าย ณ โปกขรปฐพี อันเป็นที่อภิเษกของพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ ฉะนั้นเถิด

เวลาที่กำหนดไว้ดี งานมงคลดี รุ่งแจ้งดี ความพยายามดี ชั่วขณะหนึ่งดี ชั่วครู่หนึ่งดี การบูชาดี แด่พระสงฆ์ผู้บริสุทธิ์ กายกรรมอันเป็นกุศล วจีกรรมอันเป็นกุศล มโนกรรมอันเป็นกุศล ความปรารถนาดีอันเป็นกุศล ผู้ได้ประพฤติกรรมอันเป็นกุศล ย่อมประสบความสุขโชคดี เทอญ

ขอสรรพมงคลจงมีแก่ท่าน ขอเหล่าเทพยดาทั้งปวงจงรักษาท่าน ด้วยอานุภาพแห่งพระพุทธเจ้า ขอความสุขสวัสดีทั้งหลาย จงมีแก่ท่านทุกเมื่อ

ขอสรรพมงคลจงมีแก่ท่าน ขอเหล่าเทพยดาทั้งปวงจงรักษาท่าน ด้วยอานุภาพแห่งพระธรรม ขอความสุขสวัสดีทั้งหลาย จงมีแก่ท่านทุกเมื่อ

ขอสรรพมงคลจงมีแก่ท่าน ขอเหล่าเทพยดาทั้งปวงจงรักษาท่าน ด้วยอานุภาพแห่งพระสงฆ์ ขอความสุขสวัสดีทั้งหลาย จงมีแก่ท่านทุกเมื่อ

Ezgif.com Gif Maker
ขอบคุณภาพจาก .the Asianparent Thailand

สรุป

วันพระ เป็นวันสำคัญทางพุทธศาสนา ที่มีมากถึงสัปดาห์ละครั้ง เป็นวันที่พุทธศาสนิกชนจะได้ฟังธรรมะกันเป็นพิเศษ สำหรับวันก่อนวันพระ 1 วัน เราเรียกว่า วันโกน ในวันพระ ชาวพุทธทุกคนจะไปทำบุญกันที่วัด ไปฟังเทศน์ ฟังธรรม นั่งสมาธิ สำหรับใครเคร่งมากๆ ก็จะทำการรักษาศีล 8 ไปด้วย ยิ่งไปกว่านั้น ในวันพระควรงดเว้นต่อการทำบาปทั้งปวง เพราะเชื่อว่าหากใครทำบาปในวันพระ จะได้รับผลกรรมมากขึ้นกว่าเดิมถึงสองเท่าตัว

ก่อนจากกันไป ใครที่อยากอ่านบทความดีๆ เด็ดๆ ทั้งเรื่องความเชื่อ แรงศรัทธา ทำนายฝัน ดูดวง สิ่งศักดิ์สิทธิ์ สูตรหวย สถิติหวย เลขเด็ด เราได้ทำการรวบรวม เรื่องดี เรื่องดัง เรื่องน่าสนใจ มาให้ทุกท่านไว้แล้วที่นี่ที่เดียว ไม่ต้องเสียเวลาหาเยอะแยะ มาพบกับพวกเราได้ในทุกวันที่ Ruay365.com

Facebook
Twitter
Email