ความแตกต่างของปฏิทินจันทรคติ-สุริยคติ กับฤกษ์มงคล บันดาลทรัพย์ บันดาลโชค

“ลินไปดู ปฎิทิน ให้แม่ทีซิ แรมเท่าไหร่ละวันนี้” เเม่วานฉันผู้นั่งดูทีวีเอาหลังพิงเสาที่ห้อย ปฏิทิน จันทรคติ – สุริยคติ สงสัยเพราะพระท่านเดินมาแจกปิ่นโตเมื่อกี้แหงเลย คุณนายเธอถึงถาม นิ้วป้อม ๆ ลากไปตามช่องสี่เหลี่ยมไปเรื่อย ๆ จน …. “วันนี้วันที่ 12 แรม 10 ค่ำเดือน 11 อีกสี่วันถึงจะเป็นวันพระ

“โอเค เดี๋ยวเย็นวันพฤหัสเราไปเก็บดอกบัวกัน” แม่นัดฉันล่วงหน้าเสร็จสรรพ แต่ไพลินมีคำถาม?? “แม่!! ลินสงสัยมานานละ ทำไมบางเดือน 14 ค่ำวันพระ บางเดือนก็ 15 ค่ำอะ “ ฉันถามพาซื่อ

“เอ๊าา ไอเด็กคนนี้ ที่โรงเรียนไม่สอนเหรอ ปฏิทิน สุริยคติ จันทรคติ” แม่ทำสีหน้างง ๆ “สอนนะ แต่ลืมละ ฮาฮาฮา”

“เจริญจริง ๆ ลูกฉัน เรื่องใกล้ตัวเเค่นี้ยังจำไม่ได้ ” พูดจบ คุณนายก็เดินเข้าครัวทำกับข้าวเหมือนเดิม ไม่ไขความกระจ่างให้ไพลินแม้แต่นิ๊ดเดียว แต่ไม่เป็นจ่ะ!!! แม่ไม่บอก แม่ไม่เล่า หนังสือที่ครูสอนอยู่ไหนก็ไม่รู้ แต่!!!ยุคนี้มันไฮเทคโนโลยี เสิร์จกริ๊กเดียว รู้ทุกอย่าง!!! ว่าเเล้วก็พิมพ์คำว่า… ปฏิทินจันทรคติ-สุริยคติ คือ มีบทความมาให้เลือกเป็นพรวน แต่สะดุดตาไพลินสุดก็อันนี้ ความแตกต่างของปฏิทินจันทรคติ-สุริยคติ กับฤกษ์มงคล บันดาลทรัพย์ บันดาลโชค เว็บ ruay365

ปฏิทินสุริยคติคืออะไร

ปฏิทินสุริยคติ นับวันโดยยึดการโคจรของดวงอาทิตย์เป็นหลัก ประเทศส่วนใหญ่ทุกวันนี้ก็ใช้การนับเวลาแบบสุริยคติเป็นมาตรฐานในการนับเวลา ส่วนประเทศไทยนั้นก่อนหน้านี้นับวันแบบจันทรคติ พึ่งมาเปลี่ยนเป็นแบบสุริยคติ เมื่อพ.ศ. 2431 ในสมัยรัชกาลที่ 5 ถึงจะเปลี่ยนมาใช้การนับเวลาแบบสุริยคติ ทว่าปฏิทินไทยทุกวันนี้มักมีการแสดงวันพระ  วันข้างขึ้น  ข้างแรม  ปีจีน  และคริสต์ศักราชควบคู่กันไปด้วย

ปฏิทินจันทรคติ คืออะไร

ปฏิทินจันทรคติ นับวันตามการโคจรของดวงจันทร์ โดยอาศัยปรากฎการณ์ข้างขึ้น-ข้างแรม สำหรับปฎิทินจันทรคติของไทยนั้น มีด้วยกัน 2 แบบ ดังนี้

รูปแบบของ ปฏิทินจันทรคติ

  • ปฏิทินจันทรคติราชการหรือปฏิทินหลวง

เป็นรูปแบบปฏิทินที่ใช้กันมาแต่ดั้งเดิม อาศัยการกำหนดรูปแบบปีทางจันทรคติ แต่ยังไม่มีการสรุปสูตรอย่างตายตัวหรือแน่ชัด ใช้เป็นปฏิทินจันทรคติราชการทั่วไป ตลอดจนพระสงฆ์ไทยคณะมหานิกาย

  • ปฏิทินจันทรคติปักขคณนา

รัชกาลที่ 4 เป็นผู้ประดิษฐ์ปฏิทินรูปแบบนี้ขึ้น ซึ่งมีสูตรคำนวณที่แน่ชัดและมีความแม่นยำตามธรรมชาติกว่าแบบราชการ จึงได้นำมาใช้ในพระสงฆ์ไทยคณะธรรมยุตินิกาย

การนับช่วงเวลาของ ปฏิทินจันทรคติ

การนับช่วงเวลาในปฏิทินจันทรคติไทย นับตามลักษณะการเปลี่ยนแปลงของดวงจันทร์ ดังนี้

  • คืนเดือนดับ จะสังเกตไม่เห็นดวงจันทร์
  • คืนเดือนเพ็ญ จะสังเกตเห็นดวงจันทร์สว่างเต็มดวงมากที่สุดในรอบเดือนจันทรคติ
  • คืนข้างขึ้น จะสังเกตเห็นดวงจันทร์เป็นรูปเสี้ยว นิดเดียวแล้วค่อยๆ โตขึ้นในแต่ละวันจนเต็มดวง
  • คืนข้างแรม จะสังเกตเห็นดวงจันทร์ค่อย ๆ แหว่งเป็นรูปเสี้ยวเล็กลง ๆ จนในที่สุดดวงจันทร์ก็มืดทั้งดวง

9oo
โดยนับวันแรกของเดือนเป็นวันขึ้น 1 ค่ำ และวันสุดท้ายของเดือนเป็นแรม 14 หรือ 15 ค่ำ ขึ้นอยู่กับว่าเป็นเดือนคู่หรือคี่

  • ปีนักษัตริย์ ในปฏิทินจันทรคติ มีการระบุปีนักษัตรเอาไว้ด้วย โดยเริ่มนับจากปีชวดหรือปีหนูเป็นปีเเรก และปีสุดท้ายคือปีกุนหรือปีหมู เวียนแบบนี้จนครบรอบ 12 ปีนักษัตริย์และเริ่มนับหนึ่งใหม่ไปเรื่อย ๆ ดังนั้นในพ.ศ. 2563 ก็จะตรงกับปีชวดนั่นเอง

การอ่านวันตามแบบ ปฏิทินจันทรคติ

การอ่านวันที่ตามแบบจันทรคตินั้น กำหนดให้สัญลักษณ์ ดังนี้

1 10
อ่านว่า วันอาทิตย์ ขึ้น 15 ค่ำ เดือนหก
  • เลขด้านซ้ายมือเครื่องหมายไปยาลน้อย (ฯ) หมายถึง วันในหนึ่งสัปดาห์ (นับวันอาทิตย์เป็นวันที่ 1 ไปจนถึงวันเสาร์เป็นวันที่ 7 )
  • ตัวเลขด้านบน-ล่างเครื่องหมายไปยาลน้อย (ฯ) หมายถึง ข้างขึ้นเเละข้างแรม
  • ส่วนตัวเลขด้านขวามือเครื่องหมายไปยาลน้อย (ฯ) หมายถึง เดือนในหนึ่งปี (เดือนอ้าย – เดือนสิบสอง )

ปฏิทินจันทรคติ และสุริยคติต่างกันอย่างไร

เพื่อให้เห็นความแตกต่างของปฏิทินทั้งสองแบบชัดขึ้น ให้ดูตาตารางด้างล่างนี้ พร้อมเปรียบเทียบวัน เดือน และปี ของปฏิทินสุริยคติและจันทรคติ

Calendar Sun Moon
ขอบคุณภาพจาก ruaylotto

ตัวอย่างการอ่านปฏิทิน

จากภาพปฏิทินเดือนตุลาคม พ.ศ. 2563 ปรากฏวันในเดือนนี้ทั้งหมด 31 วัน (ลงท้ายด้วย ‘คม’) จะทำการยกตัวอย่างวันที่ 12 ตุลาคม มาอ่านในรูปแบบของปฏิทินจันทรคติและสุริยคติ ได้ดังนี้

  • ปฏิทินสุริยคติ ตรงกับวันจันทร์ ที่ 12 ตุลาคม ปีพ.ศ. 2563
  • ปฏิทินจันทรคติ ตรงกับวันแรม 10 ค่ำ เดือน 11 ปีชวด

อ่านมาถึงตรงนี้ หลายท่านอาจมีคำถามว่า..ทำไมปฏิทินจันทรคติถึงเป็นเดือน 11 แล้ว ทั้งที่สุริยคติยังเป็นเดือนสิบอยู่เลย นั่นเป็นเพราะ … แบบจันทรคติเริ่มนับวันแรกของเดือนตั้งเเต่เดือนก่อนหน้า ไม่ใช่นับวันขึ้น 1 ค่ำในวันที่ 1 ของเดือนตุลาคมแต่อย่างใด ที่สำคัญหากสังเกตจะเห็นว่าเดือน 11 นั้นมีถึงแค่แรม 14 ค่ำ ไม่ใช่ 15 ค่ำ เพราะตามกฏแล้วปฏิทินจันทรคติเดือนคี่จะมีเเค่วันเเรม 14 ค่ำ ส่วนเดือนคู่จะมีถึงแรม 15 ค่ำนั่นเอง

ปฏิทินวันธงชัย 2563

วันธงชัยสำคัญอย่างไร? .. วันธงชัย หมายถึง วันที่ดีที่สุด ยามที่ดีที่สุด เหมาะแก่การทำมงคล ที่จะให้ผลสำเร็จสูงสุด มีชัยชนะ ไม่มีศัตรูใดสามารถมาย่ำกราย ใช้สำหรับขึ้นบ้านใหม่ หรือย้ายที่ทำงานใหม่ เป็นต้น การหาวันธงชัยหรือวันมงคล ต้องคำนวณวันตามหลักโหราศาสตร์ ดูการโคจรของดวงดาว ดวงจันทร์ รวมถึงดูปฏิทินทั้งสองรูปแบบประกอบด้วย สำหรับวันธงชัยในปี 2563 มีดังนี้

New Home Info 201119

สรุป

ปฏิทินไทยในปัจจุบัน สามารถแบ่งการอ่านปฏิทินได้ 2 รูปเเบบ คือ 1. การอ่านปฎิทินจันทรคติ เป็นการนับวันเวลาตามลักษณะการเปลี่ยนแปลงของดวงจันทร์ ซึ่งจะบอกวันข้างขึ้น-ข้างเเรม รวมถึงรับปีแบบปีนักษัตริย์ ปฏิทินจันทรคตินั้นสามารถบอกวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา เช่น วันพระ วันออกพรรษา วันวิสาขบูชา กับเราได้ ส่วนปฏิทินที่เราใช้กันเป็นส่วนใหญ่และคุ้นเคยกันดี เรียกว่า ปฏิทินสุริยคติ บอกวันในหนึ่งสัปดาห์คือจันทร์ถึงศุกร์ เดือนทั้ง 12 และปีพุทธศักราชนั่นเอง

แนะนำทริคเล็ก ๆ .. ไหน ๆ ก็รู้แล้วว่าปฏิทินทั้ง 2 รูปแบบเหมือนและเเตกต่างกันอย่างไร บวกกับดูฤกษ์ยามมงคลตามวันธงชัยเป็นแล้ว ก็ถือโอกาสดูฤกษ์ก่อนไปซื้อหวยหรือเสี่ยงดวงกันซะเลย… วันไหนควรเสี่ยงโชค วันไหนวันดี วันไหนวันวิปโยค เผื่อว่าวันมลคลเหล่านั้นจะช่วยหนุนนำให้โชคเข้าข้างเราบ้าง

Facebook
Twitter
Email