ปราสาทเขาพระวิหาร ชนวนแห่งความขัดแย้งที่ไม่ที่สิ้นสุดระหว่าง ‘ไทย-กัมพูชา’

ปราสาทเขาพระวิหาร ไม่มีใครที่จะไม่รู้จักที่นี่แน่นอน กับตำนานความขัดแย้งที่ไม่มีวันจบระหว่างประเทศไทยและประเทศกัมพูชา เกี่ยวกับพื้นที่ของปราสาทเขาพระวิหาร แต่นอกจากตำนานความขัดแย้งแล้ว ตัวปราสาทเขาพระวิหาร ถือว่าสวยงามและเลื่องชื่อมาก ไม่ว่าใครก็ต้องไปแวะชมความสวยงามของที่นี่ อีกทั้งยังแฝงไปด้วยเรื่องประวัติศาสตร์ต่างๆ ที่น่าสนใจ เรียกได้ว่า เป็นปราสาทที่สวยงาม ไม่เป็นสอง รองใครแน่นอน

ปราสาทเขาพระวิหาร
ขอบคุณภาพจาก ท่องเที่ยวอุทยานแห่งชาติ

ประวัติปราสาทเขาพระวิหาร

ปราสาทเขาพระวิหาร ตั้งอยู่บนเทือกเขาพนมดงรัก ในเขตประเทศกัมพูชา ติดกับผามออีแดงของประเทศไทย โดยตัวปราสาทหันหน้ามายังด้านที่ติดกับประเทศไทย ทำให้การเข้าชมปราสาท ต้องใช้เส้นทางที่ผ่านผามออีแดงของประเทศไทยเท่านั้น จากหลักฐานในจารึก เขาพระวิหารแห่งนี้ เป็นศิวะสถานสร้างขึ้นในระหว่างพุทธศตวรรษที่ 15 และสร้างสำเร็จในรัชกาลพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ให้บันทึกคำประกาศของทางราชการ ไว้บนแผ่นศิลาจารึก

สมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 (พ.ศ. 1545-1593) ประมาณพุทธศตวรรษที่ 16 ทรงสถาปนาให้เขาพระวิหารเป็นที่ประดิษฐานรูปเคารพที่เรียกกันว่า กมรเตงชคตศรีศิขเรศวร เพื่อหลอมรวมคนพื้นเมือง ซึ่งมี จาม ขอม ส่วย ให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ในระบบความเชื่อเดียวกัน ปราสาทเขาพระวิหารเป็นเสมือนศูนย์กลางความเชื่อ  กลุ่มคนพื้นเมืองบริเวณเขาพระวิหาร ซึ่งเดิมมีชื่อว่า กุรุเกษตร สันนิษฐานว่าปัจจุบันคือ คนในพื้นที่ อำเภอกันทรลักษ์ และ อำเภอขุขันธ์ ในจังหวัดศรีสะเกษ

ปราสาทเขาพระวิหาร
ขอบคุณภาพจาก Pantip

ยอดเขาพระวิหาร ถือเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ตามความเชื่อของชนพื้นเมือง ก่อนจะมีการสถาปนาให้สถานที่แห่งนี้เป็น ศรีศิขรีศวร ที่ประดิษฐานศิวะลึงค์ ตามความเชื่อในลัทธิเทวราชาของขอมไว้ แม้ว่าตัวปราสาทจะถูกสร้างโดยกษัตริย์ขอม แต่ทางขึ้นปราสาทและภวาลัยหันหน้ามาทางทิศเหนือสู่เขตอิสานใต้ของประเทศไทย จนทำให้เกิดเป็นปัญหาระหว่างประเทศเกี่ยวกับปราสาทเขาพระวิหารอย่างที่ทุกคนเคยได้ยินมา

เดิมที ปราสาทเขาพระวิหารเคยอยู่ในความดูแลของไทย และกรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียน เป็นโบราณวัตถุสถาน ประกาศในหนังสือราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2483 ตั้งแต่วันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2505 เป็นต้นมา แต่ได้เปลี่ยนไปอยู่ภายใต้การปกครองดูแลของประเทศกัมพูชา ตามคำพิพากษาของศาลโลก และยังคงเป็นของกัมพูชาอยู่สืบมาจนถึงปัจจุบัน

ปราสาทเขาพระวิหาร
ขอบคุณภาพจาก ทีนิวส์ออนไลน์

ลักษณะสำคัญของปราสาทเขาพระวิหาร

  1. บันไดดินด้านหน้าของปราสาท

บันไดดิน อยู่ทางทิศเหนือของตัวปราสาท ลาดตามไหล่เขา กว้าง 8 เมตร ยาว 75.50 เมตร มีทั้งหมด 162 ขั้น สองข้างบันไดมีฐานสี่เหลี่ยมตั้งเป็นกระพัก (กระพัก แปลว่า ไหล่เขาเป็นชั้นพอพักได้) ขนาดใหญ่เรียงรายขึ้นไป ใช้สำหรับตั้งรูปสิงห์ทวารบาล เพื่อเฝ้าดูแลรักษาเส้นทาง

  • สะพานนาคราช หรือ ลานนาคราช

สะพานนาคราช อยู่ทางทิศใต้ของบันไดหินด้านหน้า ปูด้วยแผ่นหินเรียบ กว้าง 7 เมตร ยาว 31.80 เมตร สองข้างสะพานนาคราชสร้างเป็นฐานเตี้ยๆ บนฐานมีนาคราช 7 เศียร จำนวน 2 ตัว แผ่พังพานหันหน้าไปทางทิศเหนือ ลำตัวอยู่บนฐานทั้งสอง ทอดไปทางทิศใต้ ส่วนหางของนาคราชชูขึ้นเล็กน้อย เป็นศิลปะขอมแบบปาปวน

ปราสาทเขาพระวิหาร
ขอบคุณภาพจาก ไทยรัฐออนไลน์
  • โคปุระ (ซุ้มประตู) ชั้นที่ 5

มีภาพวาดโดยปามังติเอร์อยู่ สร้างเป็นศาลาจัตุรมุข รูปทรงกากบาทไม่มีฝาผนังกั้น มีแต่บันไดและซุ้มประตูทั้ง 4 ทิศ สร้างอยู่บนฐานบัวสี่เหลี่ยมย่อมุม ฐานสูง 1.8 เมตร บันไดหน้าประตูซุ้มทั้ง 4 ทิศตั้งรูปสิงห์นั่ง เสาโคปุระสูง 3.5 เมตร เป็นศิลปะแบบเกาะแกร์

  • โคปุระ (ซุ้มประตู) ชั้นที่ 4 (ปราสาท หลังที่ 2)

มีภาพของการกวนเกษียรสมุทร ณ เขาพระวิหาร ทับหลังเป็นภาพของพระนารายณ์บรรทมสินธุ์ อยู่เหนืออนันตนาคราช เป็นลานหินกว้างประมาณ 7 เมตร สองข้างจะมีเสานางเรียงตั้งอยู่ทั้งสองด้าน โคปุระชั้นที่ 4 สร้างเป็นศาลาจตุรมุข มีกำแพงด้านทิศใต้เพียงด้านเดียว ยาว 39 เมตรจากตะวันออกไปตะวันตก กว้าง 29.5 เมตร จากเหนือไปใต้ เป็นศิลปะสมัยหลังโคปุระ

  • โคปุระ (ซุ้มประตู) ชั้นที่ 3 (ปราสาทหลังที่ 1)

เป็นโคปุระหลังที่ใหญ่ที่สุดและยังสมบูรณ์ที่สุดอีกด้วย ลักษณะการสร้างคล้ายกับ โคปุระ ชั้นที่ 1 และ 2 แต่ผิดตรงที่มีฝาผนังกั้นล้อมรอบความใหญ่โตมากกว่า และขนาบด้วยห้องสองห้อง ตัวปราสาทประธาน สามารถผ่านเข้าไปทางลานด้านหน้า บันไดกว้าง 3.6 เมตร สูง 6

ปราสาทเขาพระวิหาร
ขอบคุณภาพจาก ไทยรัฐออนไลน์
  • โคปุระ (ซุ้มประตู) ชั้นที่ 2

เป็นศาลาจัตุรมุข มีกำแพงด้านทิศใต้เพียงด้านเดียว มีรอยสกัดลงในพื้นศิลามีลักษณะเป็นหลุมกลมๆ สำหรับใส่เสาเพื่อทำเป็นปะรำพิธี มีจารึกไว้ที่ขอบประตูเป็นอักษรขอมระบุปีศักราชตกอยู่ในสมัยพระเจ้าสุรยวรมันที่ 1

  • โคปุระ (ซุ้มประตู) ชั้นที่ 1

เป็นศาลาจัตุรมุข รูปทรงกากบาทไม่มีฝาผนังกั้น มีแต่บันไดและซุ้มประตูทั้ง 4 ทิศ สร้างอยู่บนฐานสี่เหลี่ยม-ย่อมุม บันไดทางขึ้นโคปุระ ชั้นที่ 1 ทางทิศเหนือ เนื่องจากมีความเชื่อกันว่าการที่จะเข้าเฝ้าเทพนั้น จะไปด้วยอาการเคารพนบนอบในลักษณะหมอบคลานเข้าไป ทางทิศตะวันออก มีเส้นทางขึ้นคล้ายบันไดหน้าแต่ค่อนข้างชัน และยังชำรุดหลายตอน เป็นทางไปสู่ประเทศกัมพูชา เรียกว่า “ช่องบันไดหัก”

ปราสาทเขาพระวิหาร
ขอบคุณภาพจาก ไทยรัฐออนไลน์
  • สระสรง

อยู่ทางด้านทิศตะวันออกของทางดำเนินห่างออกไป 12.40 เมตร จะพบสระน้ำรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีขนาดกว้าง 16.8 เมตร ยาว 37.80 เมตร กรุด้วยท่อนหินเป็นชั้นๆ มีลักษณะเป็นขั้นบันได เรียกว่า สระสรง ว่ากันว่า ใช้สำหรับชำระร่างกายก่อนที่เข้าทำพิธีทางศาสนา

  • เป้ยตาดี

เป้ย เป็นภาษาเขมร แปลว่า ชะง่อนผาหรือโพงผา ตามตำนานเล่าว่า มีพระภิกษุชรารูปหนึ่งชื่อ “ดี” จาริกมาปลูกเพิงพำนักอยู่ที่นี่จนมรณภาพ ชาวบ้านจึงเรียกลานหินนี้ว่า “เป้ยตาดี” ซึ่งอยู่บริเวณยอดเป้ยตาดีสูงกว่าระดับน้ำทะเล 657 เมตร

ปราสาทเขาพระวิหาร
ขอบคุณภาพจาก ไทยรัฐออนไลน์

การเดินทางเข้าชมเขาพระวิหาร

• การเดินทาง

  1. จากจังหวัดศรีสะเกษใช้เส้นทางสาย อำเภอกันทรลักษ์-เขาพระวิหาร ตามทางหลวงหมายเลข 221 มีระยะทางประมาณ 100 กิโลเมตร
  2. จากจังหวัดอุบลราชธานี ใช้เส้นทางสายอำเภอนายืน-เขาพระวิหาร ตามทางหลวงหมายเลข 2248 มีระยะทางประมาณ 100 กิโลเมตร
  3. มีรถโดยสารจากอำเภอเมือง ศรีสะเกษ ไปถึงอำเภอกันทรลักษณ์ ออกทุกชั่วโมง สามารถเหมารถต่อไปปราสาท หรือ เหมารถรับจ้างจากอำเภอเมืองปราสาทไป ราคาประมาณ 1,000 บาท

สิ่งอำนวยความสะดวก

ในอุทยานฯ มีศูนย์บริการนักท่องเที่ยว มีบ้านพักรับรองอยู่บนเนินเขา พร้อมร้านอาหารสวัสดิการ ห้องน้ำ และลานกางเต็นท์คอยบริการ สามารถจองบ้านพักผ่านระบบออนไลน์ที่ www.dnp.go.th หรือจะนำเต็นท์มาเองก็ได้

ปราสาทเขาพระวิหาร
ขอบคุณภาพจาก ไทยรัฐออนไลน์

• ติดต่อ-สอบถาม

โทรศัพท์ 045-816-071, 045-816-000

• ช่วงเวลาทำการ

เปิดให้ชมทุกวัน ตั้งแต่เวลา 08:00 – 16:30 น.

• ค่าเข้าชม

มีการเสียค่าธรรมเนียมอยู่ทั้งหมดสองด่าน ได้แก่

  • ค่าผ่านด่านเขาพระวิหารชาวไทย 20 บาท ชาวต่างประเทศ 200บาท
  • ค่าเข้าชมเขาพระวิหารที่เป็นการเก็บของด่านกัมพูชา ชาวไทยผู้ใหญ่ 50 บาท ชาวต่างประเทศ ผู้ใหญ่ 200 บาท
Fwe
ขอบคุณภาพจาก Sanook

สรุป

สำหรับใครที่ต้องการมาเที่ยว ปราสาทเขาพระวิหาร ก็อย่าลืมแต่งตัวกันให้มิดชิดและทะมัดทะแมงนะคะ เพราะนอกจากความสวยแล้ว ก็ความยากเย็นในการขึ้นไปนี่แหละค่ะ เขาว่ากันว่า ยิ่งลำบากเท่าไหร่ก็ยิ่งได้บุญเยอะเท่านั้นนะคะ สาธุๆๆ นอกจากตัวเขาพระวิหารแล้ว เรายังสามารถไปเที่ยวสถานที่ท่องเที่ยวอื่นๆ นอกจากนี้ได้ เช่น ผามออีแดง สถูปคู่ เขื่อนห้วยขนุน น้ำตกขุนศรีและถ้ำขุนศรี เป็นต้น

ก่อนจากกันไป ใครที่อยากอ่านบทความดีๆ เด็ดๆ ทั้งเรื่องความเชื่อ แรงศรัทธา ทำนายฝัน ดูดวง สิ่งศักดิ์สิทธิ์ สูตรหวย สถิติหวย เลขเด็ด เราได้ทำการรวบรวม เรื่องดี เรื่องดัง เรื่องน่าสนใจ มาให้ทุกท่านไว้แล้วที่นี่ที่เดียว ไม่ต้องเสียเวลาหาเยอะแยะ มาพบกับพวกเราได้ในทุกวันที่ Ruay

Facebook
Twitter
Email