ปลัดขิก หลวงพ่อเหลือ สุดยอดเครื่องราง คงกระพัน เมตตา และโชคลาภ

เคยได้ยินข่าวกันมั๊ย?? ว่า หากใครได้ชิมส้มตำ เจ๊สมัย หมู่บ้านสหกรณ์ ต้องติดใจในรสมือเป็นแน่ จะไม่ให้ตกใจได้ยังไง ก็ในเมื่อหลักฐานตัวเป็นๆ อย่างลูกค้า ที่ยืนต่อแถวเข้าคิวยาวเหยียดอย่างไม่ย่อท้อ เพื่อรอส้มตำรสเด็ดของ เจ๊สมัย เท่าที่แม่โลมาสังเกตดู ส้มตำร้านนี้เหมือนส้มตำจากร้านทั่วๆ ไป ครกที่ใช้ก็เป็นครกไม้ธรรมดาๆ เหมือนครกทั่วไป แต่นั่นกระไรสิ่งที่สะดุดตา ก็คือไม่ตีพริก หรือที่ภาษาชาวบ้านเรียกว่า “สาก” ซึ่งหากไม่สังเกตให้ดี ก็คงไม่มีใครรู้ว่า สาก ที่เจ๊สมัยใช้นั้นเป็นเป็นปลัดขิก ของขลังชื่อดัง

ทุกท่านรู้กันบ้างหรือเปล่าว่า หนึ่งในสุดยอดเครื่องรางของขลังยอดนิยมของคนไทยมาแต่โบร่ำโบราณนั้นคือปลัดขิก ที่พระเกจิ ผู้ที่ทรงพุทธาอาคมนิยมสร้างเพื่อแจกจ่ายแก่บรรดาลูกศิษย์ลูกหา และปลัดขิกที่ถือได้ว่าเป็นสุดยอดของเมืองไทย เป็น 1 ใน ชุดเบญจภาคีเครื่องรางของขลังของไทย ต้องยกให้ ปลัดขิกหลวงพ่อเหลือ วัดสาวชะโงก อ.บางคล้า จ.ฉะเชิงเทรา

หลวงพ่อเหลือ นันทสาโร หรือ พระครูนันทธีราจารย์

ก่อนไปรู้จักปลัดขิกหลวงพ่อเหลือ เราไปทำความรู้จักกับท่านก่อนดีกว่า หลวงพ่อเหลือ มีนามเดิม เหลือ รุ่งสะอาด เกิดวันพุธที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ.2405 ขึ้น 13 ค่ำ เดือน 8 (ปีจอ) เกิดที่ หมู่ 2 ตำบลบางเล่า อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา บิดาชื่อ นายรุ่ง รุ่งสะอาด มารดาชื่อ นางเพชร รุ่งสะอาด มีพี่น้องร่วมบิดา มารดา จำนวน 7 คน ท่านเป็นบุตรคนที่ 5 ในช่วงวัยเด็กเป็นคนขยันขันแข็ง ช่วยงานพ่อแม่ทุกอย่าง

จนเมื่อถึงวัยอันสมควร จึงได้เข้าพิธีอุปสมบท เมื่อปี พ.ศ.2428 ที่วัดสาวชะโงก อ.บางคล้า โดยมีพระอาจารย์คง วัดใหม่บางคล้า เป็นพระอุปัชฌาย์, พระอธิการขิก วัดสาวชะโงก เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอาจารย์โต วัดสาวชะโงก เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายา นันทสาโร

หลวงพ่อได้ศึกษาเล่าเรียนวิชา ขอมบาลี และกัมมัฏฐาน จากพระอธิการขิก ผู้มีวิทยาคมเข้มขลัง จนแตกฉาน นอกจากนี้ท่านยังไปฝากตัวเป็นศิษย์กับ พ่อดำ วัดกุฏี หลวงปู่ยิ้ม วัดหนองบัว พระอาจารย์ทั้งสองได้สอนวิชาการทำตะกรุด และพระปิดตาแก่หลวงพ่อเหลือ

 หลวงพ่อเสือ

ด้วยการไปร่ำเรียนวิชาจากท่านพ่อดำ วัดกุฏี และหลวงปู่ยิ้ม วัดหนองบัว นี่เองทำให้หลวงพ่อเหลือเป็นสหธรรมิกกับพระเกจิชื่อดังหลายรูป หลวงพ่อเสือ วัดไผ่สามกอ ผู้เชี่ยวชาญด้านทำน้ำมนต์, หลวงพ่อนก วัดสังกะสี ศิษย์หลวงพ่อปาน วัดคลองด่าน, หลวงพ่อจาด วัดบางกระเบา, หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก, หลวงพ่อคง วัดบางกะพ้อม, หลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ ฯลฯ

และด้วยการที่เป็นสหธรรมิก กับเกจิหลายรูปนี้ทำให้ท่านมีการแลกเปลี่ยนวิชากันกับหลวงพ่อนก โดยหลวงพ่อเหลือได้ให้วิชาทำปลัดขิก ส่วนหลวงพ่อนก ได้ให้วิชาการทำเสื้อกับหลวงพ่อเหลือ จากนั้นในปีพ.ศ.2461 หลวงพ่อเหลือได้รับแต่งตั้งเป็นรองเจ้าอาวาสวัดสาวชะโงก

และในปีพ.ศ.2474 ได้เป็นเจ้าอาวาสวัดสาวชะโงก ซึ่งระหว่างที่ดำรงตำแหน่งหลวงพ่อเหลือ ได้พัฒนาวัดอย่างต่อเนื่องจนเจริญรุ่งเรืองเป็นที่รู้จัก จนในที่สุด วันศุกร์ ที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2488 ขึ้น 7 ค่ำเดือน 2ปีระกา เวลาประมาณ 04.00 น. หลวงพ่อได้มรรภาพลงด้วยโรคประจำตัว เหลือไว้เพียงความดีงามและตำนานของขลังอย่างปลัดขิกหลวงพ่อเหลือ

พระเกจิชื่อดัง หลวงพ่อเหลือ

ด้วยหลวงพ่อท่านเป็นพระเกจิที่มีคุณวิเศษหลายด้าน ทำให้มักจะได้รับกิจนิมนต์เข้าร่วมพิธีปลุกเสกใหญ่เสมอ ๆ ก่อนที่ปลัดขิกของท่านจะเป็นที่รู้จัก หลวงพ่อเหลือโด่งดังมาก่อนจากการสร้าง ผ้ายันต์แดง

โดยผ้ายันต์แดง ถูกปลุกเสกขึ้น เพื่อแจกจ่ายให้เหล่าทหาร นำติดตัวไปออกรบในช่วงสงครามอินโดจีน ซึ่งก็เป็นที่ฮือฮาอย่างมาก เพราะทหารทุกคนที่พกผ้ายันตืแดงติดตัวถูกยิงถูกแทงก็ไม่ได้รับบาดเจ็บหรือมีแผลแต่อย่างใด สร้างความแปลกประหลาดใจเป็นอย่างมาก ซึ่งนอกจากเสื้อยันต์แล้ว ของขลังหลวงพ่อเหลืออันเป็นที่นิยมและถูกกล่าวขานมากที่สุดคือ ปลัดขิก ซึ่งสาเหตุไม่ต้องสืบสาวให้ไกล แต่เป็นเพราะหลวงพ่อเหลือ เป็นเอกในเรื่องการปลุกเสกปลัดขิกนั่นเอง

ปลัดขิกหลวงพ่อเหลือ เครื่องรางสุดขลัง

สมัยโบราณปลัดขิกถือว่าเป็นเครื่องรางของขลังชนิดหนึ่งที่ผู้คนนิยมพกพากันเป็นอย่างมาก นั่นก็เพราะคนโบราณไม่นิยมพกพระเครื่อง ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของสูงไปยังที่อโคจรต่าง ๆ คนโบราณจึงคิดสร้างเครื่องรางอย่างปลัดขิกขึ้นมาเพื่อใช้เป็นของขลังป้องกันสิ่งอัปมงคลคุณไสยต่างๆ หากมีโอกาสได้ไปในที่อโคจร

ซึ่งปลัดขิกนอกจากจะป้องกันคุณไสยอย่างที่ได้กล่าวมาแล้ว ยังมีพุทธคุณช่วย กันงู กันสัตว์มีพิษมีเขี้ยวทั้งหลาย เมตตามหานิยม ค้าขายดีช่วยเรียกลูกค้า เรียกโชคลาภ แคล้วคลาด คงกระพัน ป้องกันภูตผีปีศาจได้ด้วย ส่วนเหตุที่ปลัดขิกทำด้วยไม้ จนมีชื่เรียกอีกอย่างว่า ตะกรุดไม้ นั่นก็เพราะไม้เป็นวัสดุที่หาง่าย และในอดีตไม่มีวัสดุที่เป็นเหล็กหรืออลูมิเนียมเหมือนในสมัยนี้ การใช้ไม้มาทำของขลังอย่าง ปลัดขิก จึงเหมาะสมที่สุด

ส่วนใหญ่พุทธคุณปลัดขิก จะไม่ต่างจากที่ได้กล่าวมาข้างต้น แต่เชื่อหรือไม่ว่า ปลัดขิกของหลวงพ่อเหลือมีมากกว่านั้น นอกจากจะโดดเด่นด้านคงกระพันและเมตตาโชคลาภแล้ว หากใครบูชาหรือพกพาจะช่วยให้โชคลาภเข้ามาหาโดยจะโดดเด่นด้านคงกระพันและเมตตาโชคลาภ ทำให้ปลัดขิกของท่านเป็นที่นิยมเป็นอย่างมาก

อีกทั้งกว่าจะเป็นปลัดขิกแต่ละชิ้นนับว่าใช้ต้องเวลา เพราะหลวงพ่อเหลือทำเองกับมือทั้งหมด ตั้งแต่ขั้นตอนการเลือกไม้ โดยไม้ที่ใช้จะเป็น ไม้คูณ ไม้ชะอม ไม้แก่นคูณ เท่านั้น ขั้นตอนการตากไม้และแกะสลัก ซึ่งขั้นตอนการแกะสลักหลวงพ่อจะลงคาถาหัวใจโจร พร้อมจารอักขระตัวอุที่ด้านปลายของปลัดขิกทุกตัว ที่ตัวด้ามไม้จารลง 3 – 5 ตัว

โดยคาถาหัวใจโจรของหลวงพ่อเหลือที่ใช้กำกับว่า “กัณหะ เนหะ” และ “อุมิอะมิ” คาถาหัวใจโจร คือ การได้อะไรมาโดยง่ายแบบปุบปับฟลุคๆ ไม่คาดคิดไม่นึกไม่ฝัน ไม่ใช่การปล้นฆ่าแต่อย่างใด

 1

พอเสร็จขั้นตอนแกะสลักและลงอาคมเสร็จ ก็เข้าขั้นตอนจารอักขระยันต์ และการปลุกเสกหลวงพ่อเหลือก็ทำด้วยตนเองทั้งหมด ที่สำคัญการปลุกเสกในแต่ละครั้ง หลวงพ่อจะต้องอาศัยฤกษ์ยาม และดวงดาวตามโหราศาสตร์ เข้ามาเกี่ยวข้องด้วยซึ่งฤกษ์ที่ใช้ในการปลุกเสกนั้น ต้องเป็นฤกษ์เฉพาะที่เป็นเหล่าก๊กแห่งโจร

โดยฤกษ์โจรนี้ มีการกล่าวไว้ว่า ประกอบด้วยกลุ่มดาว 4 ดวง ด้วยกัน คือ ดาวอังคาร มีตัวแทนคือเลข 3 เลขนี้หมายถึง จิ๊กโก๋ คือ กล้าได้กล้าเสีย , ดาวศุกร์มีตัวแทนคือเลข 6 เลขนี้สื่อถึงครูโจร คือ นักวางแผนในการทำงาน, ดาวเสาร์มีตัวแทนเป็นเลข 7 เลขนี้ สื่อไปถึงผู้มีใจนักเลง คือ ผิดเป็นผิดถูกเป็นถูก (ไม่ใช่อันธพาล) และดาวราหูมีตัวแทนเป็นเลข 8

ซึ่งเลข 8 ก็คงรับทราบกันดีแล้วว่าหมายถึงเรื่องของความโชคดี และหากจะนับเวลาในรอบวัน ช่วงฤกษ์นี้ตรงกับช่วงเวลาสามทุ่มครึ่งเป็นต้นไปนั่นเอง ส่วนวันที่ใช้ในการปลุกเสก จะประกอบด้วยวันอังคาร วันศุกร์ และวันเสาร์ โดยปลักขิกที่จะปลุกเสกจะอยู่ในบาตรจะต้องปลุกเสกให้ครบสามวันตามที่กล่าวข้างต้นในช่วงสามทุ่ม

ส่วนการปลุกเสกจะเสร็จสมบูรณ์เมื่อใดนั้น หลวงพ่อเหลือมีวิะีพิสูจน์คือ ท่านจะหยิบปลัดขิกออกจากบาตรมาหนึ่งตัว เมื่อถึงรุ่งสางหลังจากบิณฑบาต ท่านจะลองโยนลงไปในแม่น้ำ หากปลัดขิกลอยน้ำได้ และวิ่งทวนน้ำได้ เป็นอันว่าการปลุกเสกปลัดขิกเสร็จสมบูรณ์

วิธีใช้ปลัดขิก หลวงพ่อเหลือ

สำหรับการใช้ปลัดขิกโดยทั่วไปนั้นห้ามสวดคาถาปลัดขิกด้านเมตตาค้าขายคู่กับ ด้านแคล้วคลาด แต่ะสามารถสวดคู่กับด้านคงกระพันได้ หรือจะสวดด้านคงกระพันคู่กับด้านแคล้วคลาดก็ได้ การใส่ปลัดขิกเวลาที่คาดเอวต้องให้ปลัดขิกสัมผัสผิวหนัง โดยให้หันด้านเงี่ยงเข้าหาตัว แต่ถ้าไม่ได้คาดเอว เมื่อสวดคาถาจบให้นำส่วนหัวถูกับเอวที่ตัวเองก่อน โดยถูให้สัมผัสผิวหนัง

สำหรับของหลวงพ่อนั้นจะมีวิธีใช้เฉพาะการณ์ต่าง ๆ ดังนี้

  • หากต้องการใส่ปลัดขิกไปเพื่อจีบสาวให้เอาไว้ที่เอวข้างซ้าย
  • หากจะเข้าหาเจ้านายให้เอาไว้ที่เอวข้างขวา
  • หากเกิดเหตุคับขันให้หันเอาไว้ข้างหน้า
  • หากจะถอยให้เอาไว้ด้านหลัง

เมื่อทำการหันปลัดขิกไปยังตำแหน่งที่ถูกต้องการแล้ว ให้กลั้นหายใจแล้วว่าคาถาหัวใจโจรกำกับ “กัณหะ เนหะ” แล้วทุกอย่างจะเป็นไปสมปรารถนาทุกประการ

สรุป

หลวงพ่อเหลือ ไม่ได้โด่งดังในเรื่องวิทยาคมที่แก่กล้างเพียงอย่างเดียว แต่ท่านยังมีความเมตตากรุณาปราณี ความโอบอ้อมอารีย์ อย่างเปี่ยมล้น เมื่อพบเห็นคนที่ตกทุกข์ได้ยาก จะพยายามเข้าช่วยเหลือให้คนนั้นพ้นทุกข์เสมอๆ อีกทั้งท่านยังเคร่งครัดในพระธรรมวินัยอีกด้วย

สำหรับเครื่องรางของขลังปลัดขิก หลวงพ่อเหลือ แม่โลมาขอบอกเลยว่าเด็ด เพราะจัดว่าเป็นเครื่องรางของขลังที่สุดยอดสมกับที่เป็น 1 ใน ชุดเบญจภาคีเครื่องรางของขลังของไทย ไม่ว่าจะเมตตามหานิยม คงกระพันชาตรี โชคลาภแบบอยู่เฉยๆ นิ่งๆ เดี๋ยวมาเองเดี๋ยวดีเอง หากใครมีอยู่ควรบูชารักษาไว้ให้เป็นอย่างดี แต่กระนั้นหากท่านไหนอยากติดตามเรื่องราวของขลัง และความเชื่ออื่นๆ สามารถติดตามบทความดี ๆ ที่ Ruay365 ได้ทุกวันนะ . . .

Facebook
Twitter
Email